สอนสร้างคอร์สออนไลน์ฟรี มีเงินเข้าต่อเนื่อง ด้วยการทำงานแค่ครั้งเดียว!

เนื้อหาบทความนี้

คอร์สออนไลน์กลายเป็น Digital Asset (สินทรัพย์ออนไลน์) ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากทำงานแค่ครั้งเดียวแต่สามารถเก็บเกี่ยวรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่าเป็น Passive Income นั่นเอง สำหรับบทความนี้เราอยากมาช่วยบอกขั้นตอนการสร้างคอร์สออนไลน์แบบละเอียดยิบ ไม่ว่าใครก็สามารถเริ่มต้นได้ รับรองว่าอ่านจบทำเป็นแน่นอน จะมีขั้นตอนอะไรบ้างมาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

วิธีสร้างคอร์สออนไลน์สำหรับผู้เริ่มต้น

1. สำรวจความสามารถและความถนัดของตัวเราก่อน

สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การสำรวจว่าตัวเรานั้นเชี่ยวชาญเรื่องอะไร หรือมีความสามารถในการถ่ายทอดทักษะที่เป็นประโยชน์บ้าง ซึ่งบางครั้งหลายคนอาจนึกว่าตัวเองก็ไม่ได้เก่งอะไร แต่พวกเขาอาจมองข้ามมันไปก็ได้นะ การสร้างคอร์สออนไลน์ ง่ายนิดเดียว แม้แต่การสอนปลูกต้นไม้ก็สามารถทำเป็นคอร์สได้ เพราะแน่นอนว่าทุกคนบนโลกก็ไม่ได้ปลูกต้นไม้เป็นกันทุกคน ตัวอย่างคอร์สออนไลน์ยอดนิยม เช่น คอร์สสอนทำอาหาร, คอร์สสอนเรื่องภาษี, คอร์สติวสอบ เป็นต้น

2. เลือกหัวข้อที่ต้องการนำมาสอน

เมื่อรู้แล้วว่าตัวเองมีความสามารถด้านไหน จากนั้นลองลิสต์สิ่งที่ตัวเองรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น เพื่อให้วางแผนการสอนได้ง่ายขึ้น เช่น คุณมีความสามารถด้านการทำอาหารและการวางแผนการขายเนื่องจากเคยเปิดร้านอาหารมาก่อน คุณก็อาจจะเลือกหัวข้อจากอาหารที่คุณทำเป็น และโฟกัสที่มัน อย่างเมนูยำ คุณก็อาจจะเลือกสอนทำตั้งแต่ต้น และสอนคำนวณต้นทุน หรือ สอนทำเฉพาะน้ำยำสูตรต่าง ๆ ก็ได้

3. วางแผนเนื้อหาการสอน

หลังจากที่รู้แล้วว่าต้องการจะสอนเกี่ยวกับประเด็นไหน ขั้นตอนถัดไปคือการวางแผนเนื้อหาว่าคุณจะสอนหัวข้อไหน ก่อน-หลัง มีกรอบการสอนอย่างไร จะช่วยให้การสอนเป็นไปอย่างลื่นไหลมากขึ้น ขั้นตอนนี้แนะนำให้ทำ Script การสอนแบบคร่าว ๆ ไปด้วยจะช่วยประหยัดเวลาเตรียมตัวได้มากขึ้น

4. กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไร การเข้าใจลูกค้าอย่างถึงที่สุดก็คือหัวใจสำคัญอยู่ดี ดังนั้นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะเป็นนักเรียนของคุณ จะช่วยให้ออกแบบและวางแผนการสร้างคอร์สให้รองรับความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

5. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการถ่ายทำ

แม้ว่าจะเป็นการสร้างคอร์สออนไลน์สำหรับเริ่มต้นแต่อุปกรณ์สำหรับการทำ Production ก็เป็นสิ่งสำคัญ คุณควรมีอุปกรณ์พื้นฐานให้ครบสำหรับความต้องการการใช้งาน แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นอุปกรณ์สเป็คสูง ๆ นะคะ สำหรับคนที่เพิ่งหัดสร้างคอร์ส สามารถเริ่มจากสิ่งที่คุณมีอยู่ก็ได้ค่ะ โดยควรจะมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

กล้อง: กล้องคุณภาพสูงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจับภาพวิดีโอที่ชัดเจนและคมชัด พิจารณาใช้กล้องดิจิตอล SLR หรือกล้องวิดีโอที่มีเซ็นเซอร์รับภาพที่ดี สำหรับผู้เริ่มต้นอาจใช้กล้องมือถือที่สามารถถ่ายวิดีโอคุณภาพสูงได้
ไมโครโฟน: ไมโครโฟนที่ดีจำเป็นสำหรับการบันทึกเสียงที่ชัดเจน พิจารณาใช้ไมค์ติดปกเสื้อหรือไมค์ช็อตกันเพื่อบันทึกเสียงของคุณ 
อุปกรณ์จัดแสง: การจัดแสงที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างวิดีโอที่ดูเป็นมืออาชีพ ลองใช้ไฟซอฟต์บ็อกซ์หรือไฟวงแหวนเพื่อทำให้ใบหน้าของคุณสว่างขึ้นและพื้นที่รอบ ๆ ตัวคุณ
ขาตั้งกล้อง: ขาตั้งกล้องจะช่วยให้กล้องของคุณมั่นคงและป้องกันการสั่นไหวของกล้อง
ฉากหลัง: ฉากหลังธรรมดาหรือกรีนสกรีนช่วยให้คุณสร้างวิดีโอที่ดูสะอาดตาและเป็นมืออาชีพได้
ซอฟต์แวร์ตัดต่อ: เป็นเรื่องจำเป็นมากที่ต้องใช้โปรแกรมเพื่อแก้ไขฟุตเทจวิดีโอและเพิ่มกราฟิกหรือข้อความที่จำเป็น ลองใช้โปรแกรมอย่าง Adobe Premiere Pro หรือ Final Cut Pro ค่ะ
ซอฟต์แวร์ตัดต่อเสียง: คุณอาจต้องการใช้ซอฟต์แวร์ตัดต่อเสียงเพื่อล้างเสียงรบกวนพื้นหลังหรือเพิ่มเพลงลงในวิดีโอ
ซอฟต์แวร์กราฟิก: คุณอาจต้องการใช้ซอฟต์แวร์กราฟิกเพื่อสร้างกราฟิกหรือตัวช่วยภาพที่จำเป็นสำหรับวิดีโอของคุณ Adobe Photoshop หรือ Canva เป็นตัวเลือกที่ดีมาก ๆ ค่ะ
เว็บแคม: หากคุณจะบันทึกวิดีโอโดยใช้เว็บแคม ให้พิจารณาลงทุนในเว็บแคมคุณภาพสูงที่มีเซ็นเซอร์รับภาพที่ดีและไมโครโฟนในตัว
หูฟัง: หูฟังมีประโยชน์ในการตรวจสอบเสียงของคุณในขณะที่คุณกำลังบันทึก อาจจะใช้หูฟังปกติก็ได้ค่ะ

6. สร้างสื่อการสอนให้น่าสนใจ

ใครที่คิดจะทำคอร์สขายแต่ไม่ทำสื่อการสอน บอกคำเดียวว่า อย่าหาทำ! เพราะนั่นจะทำให้คอร์สของคุณขาดทั้งความน่าสนใจและน่าเบื่อมาก ๆ แนะนำให้ทำสื่อการสอนเพื่อดึงดูดความสนใจและช่วยเพิ่มความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นทุกครั้งสำหรับการสอน จะช่วยให้คอร์สของคุณน่าติดตามมากขึ้น

7. วางแผนเรื่องการตลาด

ถึงจะสอนดีแค่ไหน แต่ถ้าขาดการตลาดที่ดีก็อาจทำให้คุณเสียเวลาไปฟรี ๆ ได้เลย! การวางแผนการตลาดออนไลน์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คุณต้องคิดว่าทำยังไงลูกค้าถึงเห็นคอร์สของคุณและตัดสินใจซื้อมัน ทำอย่างไรให้พวกเขามีความจำเป็นที่ต้องซื้อ และช่องทางการโปรโมทไหนจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้จำนวนมากและเร็วมากที่สุด ถ้าขาดการวางแผนในส่วนนี้ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าคุณจะเสียทั้งเงินและเวลาไปอย่างน่าเสียดาย

8. เริ่มถ่ายวิดีโอและทำมาเป็นคอร์ส

ขั้นตอนการวางแผนจบแล้ว ต่อมาก็เริ่มลุยถ่ายวิดีโอการสอนได้เลย แนะนำว่าก่อนถ่ายทำทุกครั้งให้ทำการเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด ทั้ง Script และอุปกรณ์การถ่ายทำ เพื่อป้องกันการเสียเวลาภายหลังซึ่งอาจทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นได้

9. นำคอร์สลงขายในแพลตฟอร์มสำหรับ Online Course

เมื่อทำคอร์สเสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปก็คือการส่งขาย แนะนำว่าควรเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับคอร์สของคุณเป็นหลัก ปัจจุบันมีหลายช่องทางให้เลือกมาก ๆ เช่น เว็บไซต์ของคุณเอง, Maeketplace Facebook, Fanpage รวมถึง PUNDAI ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มช่วยขายที่โดดเด่นเรื่องของการทำ Affiliate Marketing ใครอยากขายคอร์สแต่ทำการตลาดไม่เก่งก็สามารถมาลงขายได้ เพราะที่นี่เขาซัพพอร์ทด้านการตลาดเต็มที่เลย หรือจะขายคอร์สออนไลน์เป็น gift voucher ก็ได้ ทำให้คอร์สของคุณน่าสนใจมากขึ้น แล้ว gift voucher คืออะไร เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์มีการระบุมูลค่าของเงินนั่นเอง

10. ทำการโปรโมทคอร์สอย่างต่อเนื่อง

ถึงแม้จะสร้างระบบเรียนออนไลน์เรียบร้อยแล้ว แต่การโปรโมทยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คอร์สของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น รับรองว่ากระแสเงินสดจาก Passive Income นี้จะช่วยให้คุณมีอิสรภาพทางการเงินได้แบบไม่ยากเลย

4 โปรแกรมสร้างคอร์สออนไลน์ที่ดีที่สุดแห่งปี 2023

1. LearnWorlds 

เครื่องมือสร้างคอร์สออนไลน์ที่มาพร้อมฟีเจอร์การใช้งานหลากหลาย สามารถช่วยสร้างคอร์สได้หลายรูปแบบทั้งคอร์สวิดีโอ, คอร์สการใช้การอ่าน, คอร์สแนว Project และฟีเจอร์อื่น ๆ ดังนี้

  • Interaction : ตัวช่วยใส่รายละเอียดเพิ่มเติมในวิดีโอ
  • Live Classes : สามารถกดเชื่อมต่อกับ Zoom เพื่อทำคอร์สสดได้
  • Assignment : สามารถสร้างแบบฝึกหัดให้กับนักเรียนได้ เช่น แบบฝึกหัดแบบหลายตัวเลือก,​ แบบฝึกหัดเขียนตอบ หรือการสอบ
  • Note taking : นักเรียนสามารถจดโน้ตสั้น ๆ และ Highlight ได้
  • Drip Feed : การล็อกเนื้อหาเอาไว้ เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนผ่านบทเรียนพื้นฐานมาแล้ว

2. Thinkific

ตัวช่วยสร้างคอร์สออนไลน์ ฟรีที่มีการใช้งานแบบเรียบง่าย ทำให้แม้จะเป็นมือใหม่ก็ทำงานได้ไม่ยุ่งยาก

  • Course Builder : ตัวช่วยสร้างคอร์สออนไลน์ที่ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ลากวางก็ได้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นยังสร้างคอร์สสดได้อีกด้วย
  • Assessment : เราสามารถประเมินผลนักเรียนด้วยแบบฝึกหัดแบบตัวเลือกได้เลย 
  • Drip Content : ฟีเจอร์นี้ช่วยให้เราสามารถจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนได้
  • Progress Tracking : ตัวช่วยติดตามที่ทำให้เรารู้ว่านักเรียนของเราเรียนไปถึงหัวข้อไหนแล้วบ้าง

3. Teachable

อีกหนึ่งเครื่องมือช่วยสร้างคอร์สออนไลน์ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถสัมผัสถึงความเป็นมืออาชีพจากคอร์สออนไลน์ของคุณได้แบบไม่ยาก ฟีเจอร์หลัก ๆ สามารถกดใช้งานได้ง่าย ดังต่อไปนี้

  • Online Course Builder : แค่ลากวางก็สามารถสร้างคอร์สแบบง่าย ๆ ได้แล้วค่ะด้วยการใช้ฟีเจอร์นี้ อีกทั้งยังเหมาะกับคนที่อยากทำคอร์สสอนเขียนโปรแกรมอีกด้วย เพราะสามารถแสดงตัวอย่าง Code ได้ทันที
  • One-on-One sessions : ฟีเจอร์นี้ช่วยให้คุณสามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ตัวต่อตัว เหมาะสำหรับการสอบถามสิ่งที่สงสัยได้อย่างสะดวก
  • Drip Content : ตัวช่วยในการเรียงลำดับวิดีโอในคอร์สได้อย่างเหมาะสม

4. Canva

เว็บสร้างคอร์สออนไลน์ที่มาพร้อมคำสั่งในการทำกราฟฟิกที่แสนหลากหลาย คุณสามารถใช้แคนวาในการสร้างคอร์สออนไลน์ได้ง่าย ๆ ตั้งแต่การอัดหน้าจอตัวคุณเอง การใส่ข้อความ การใส่ภาพประกอบ แบบที่เรียกได้ว่าครบจบในโปรแกรมเดียวเลย

เปิดคอร์สออนไลน์แล้วขายที่ไหนดี?

หลังจากที่เรียนรู้การสร้างคอร์สออนไลน์แบบง่าย ๆ กันไปแล้ว เรามาดูแพลตฟอร์มสำหรับวางขายคอร์สออนไลน์กันเลยดีกว่า

1. Skillane

แหล่งรวมคอร์สออนไลน์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ไม่ว่าใครอยากจะไปอัปสกิลก็มักจะเลือกซื้อคอร์สจากที่นี่เป็นอันดับแรก ๆ ด้วยที่ว่ามีคอร์สให้เลือกหลากหลายและจำนวนมาก ทำให้มีลูกค้ามาใช้บริการค่อนข้างเยอะ ทำให้ใครก็ตามที่อยากเข้าถึงลูกค้าจำนวนมาก ๆ อาจเริ่มต้นจากการลงคอร์สที่นี่ก็ได้

2. Edumall

แพลตฟอร์มนี้มาพร้อมจุดเด่นที่มีการทำการตลาดให้กับคอร์สของเราด้วย ทำให้แน่ใจได้เลยว่าแม้ไม่มีความรู้เรื่อง Digital Marketing ก็ยังขายได้แน่นอน โดยที่นี่มีประเภทของคอร์สให้เลือกหลากหลายด้วยกัน ทั้งการเงินการลงทุน, การสอนสร้างคอร์สเรียนออนไลน์, การเขียนโปรแกรม, การสร้างเว็บไซต์ และอื่น ๆ 

3. ตลาดปัญญา

สำหรับใครที่อยากมี Passive Income ตลาดปัญญาก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะสามารถทำงานได้สะดวกและมีการใช้ในการอบรมความรู้ตามองค์กรอีกด้วย

4. PUNDAI

เครื่องมือการตลาดแบบ Affiliate ที่ดุดันไม่เกรงใจใครของจริง! นอกจากจะสามารถวางขายสินค้าทั่วไปได้แล้ว ตอนนี้ PUNDAI ยังเปิดให้ลงขายคอร์สออนไลน์ได้ ยิ่งไปกว่านั้นการตลาดแบบ Affiliate Marketing ซึ่งเป็นการบอกต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสูงยังมีผลช่วยให้ยอดขายคอร์สพุ่งรัว ๆ ได้แบบง่าย ๆ ใครที่อยากลองลงขายสามารถติดต่อได้ทาง Line : @pundaiofficial ได้เลย

สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจทำธุรกิจออนไลน์ ทาง PUNDAI ของเราพร้อมนำเสนอสาระดี ๆ ด้านการทำการตลาดออนไลน์ และให้ความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ที่สร้างความเชื่อมั่นและรายได้

หลังจากที่ได้เรียนรู้ขั้นตอนการสร้างคอร์สออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชันและโปรแกรมต่าง ๆ ไปแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อน ๆ ที่กำลังสนใจทำคอร์สของตัวเองจะสามารถนำทริคดี ๆ และโปรแกรมช่วยสร้างคอร์สออนไลน์ที่เราแนะนำไปใช้ รวมถึงแพลตฟอร์มสำหรับลงขายคอร์สที่เราได้คัดสรรมา รับรองว่าถ้าทำด้วยความตั้งใจแล้วล่ะก็ Passive Income หลักแสนสามารถเป็นจริงได้อย่างแน่นอนค่ะ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ลงขายคอร์สออนไลน์ที่ไหนได้บ้าง

Skillane / Edumall / ตลาดปัญญา / PUNDAI

ADD LINE เพื่อเริ่มใช้ PUNDAI

คุณก็สามารถใช้ PUNDAI โดยไม่มีอะไรซับซ้อน ด้วยการแอดไลน์และเริ่มใช้งานได้ทันที หรือกด เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับบทบาทของผู้ใช้งาน เพื่อศึกษาบทบาทของเรา