ด้วยทุกวันนี้เป็นยุคสมัยที่สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อผู้คนอย่างมาก ตั้งแต่ตื่นเช้ามาอัปเดตสภาพอากาศ ข่าวสารบ้านเมืองผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ตลอดจนการจับจ่ายใช้สอยซื้อของออนไลน์ หลายคนจึงอาจเคยได้ยินคำว่า digital marketing วันนี้บทความของเราจึงจะมาขยายรายละเอียดตั้งแต่ digital marketing คืออะไร digital marketing มีอะไรบ้าง ตลอดจนการใช้ digital marketing คุณสมบัติที่ควรจะทราบมีอะไรบ้าง และ digital marketing ความสำคัญต่อการตลาดแบบ Affiliate เป็นอย่างไร เราได้รวบรวมข้อมูลให้ทุกคนได้ศึกษาไปพร้อมกัน
มาทำความรู้จักการตลาดออนไลน์ digital marketing คืออะไร
digital marketing คือการทำการตลาดออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก หรือแม้แต่สมาร์ตโฟน โดยการตลาดประเภทนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ digital marketing ของ facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้หลากหลายทั่วโลก โดย Facebook ของเราทุกคนสามารถที่จะทำสื่อโฆษณาด้วยการยิง Ads ได้ ตั้งแต่การเลือกกลุ่มเป้าหมาย โลเคชั่นของลูกค้า รวมถึงการกำหนดงบประมาณในการทำโฆษณา และนอกจากเฟสบุ๊กแล้วยังมีอีกหลายช่องทางที่สามารถทำ Social Media Marketing ได้ โดยให้ลูกค้าค้นหาผ่านเครื่องมือ Search Engines เช่น Google, เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนแพลตฟอร์ม Instagram, TikTok, Twitter และอื่น ๆ
ความสำคัญของ digital marketing ที่คนรุ่นใหม่ควรทราบ
ปัจจุบันโลกเสมือนนั้นช่วยให้ผู้คนค้นหาและพบเจอกับสิ่งที่ต้องการได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นนักการตลาดหรือนักธุรกิจที่ดีจำเป็นจะต้องทราบประโยชน์จาก digital marketing การใช้งาน เพื่อเป็นสื่อกลางในการทำโฆษณาสินค้า และบริการต่าง ๆ เนื่องจาก digital marketing ของ social media สามารถดึงดูดผู้คนเข้ามาพบเห็นและสั่งซื้อสินค้าหรือเดินทางเข้าไปใช้บริการในสิ่งที่เราได้ทำโฆษณาออกไปได้มากขึ้น และเห็นผลจริง ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลทำให้การทำ digital marketing ความสำคัญ เป็นการตลาดที่ทำได้อย่างตรงจุด ตรงกลุ่มเป้าหมาย และยังทำได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ยังคงให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ หากเรายังทำงานได้ภายใต้หลักการความเข้าใจ digital marketing ที่ถูกต้อง
คุณสมบัติของ digital marketing ที่ต้องทราบก่อนเริ่มทำ
การทำ digital marketing คุณสมบัติที่ดีมี ดังนี้
1. การรู้จักวางแผนกลุยุทธ์
เราจะต้องทราบจุดประสงค์ว่าเราจะทำ digital marketing ไปเพื่ออะไร ระหว่างเพื่อทำให้ผู้คนแค่ได้รู้จักชื่อสินค้าเรา หรือเพื่อเพิ่มยอดขาย รวมถึงเพื่อเป้าหมายในการเผยแพร่เนื้อหาในแต่ละช่องทาง โดยที่เรายังสามารถตรวจสอบเห็นปฏิกิริยาตอบกลับได้ผ่านการแสดงความคิดเห็น (Comment) จากลูกค้า
2. ใช้เวลาเก็บข้อมูล
เราจะต้องอาศัยความอดทนในการใช้ระยะเวลาเพื่อเก็บข้อมูล
3. มีความยืดหยุ่นเรื่องการใช้งบประมาณ
เนื่องจากการทำ digital marketing มีทั้งแบบเริ่มต้นที่ไม่ใช้เงิน ใช้เงินจำนวนน้อย ไปจนถึงขั้นใช้เงินจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หลังการทำโฆษณาที่มีคุณภาพ
4. ไม่ทิ้งการตลาดรูปแบบเดิม
เนื่องจากการตลาดรูปแบบเดิมจะทำให้เราคงฐานลูกค้าเก่าเอาไว้ได้ ในการทำ digital marketing ให้จำไว้เสมอว่ามันเป็นอีกเพียงหนึ่งในช่องทางที่จะเข้ามาช่วยทำให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรทำทั้งการตลาดออนไลน์และการตลาดออฟไลน์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อธุรกิจของเราเอง
digital marketing กับข้อดี – ข้อเสียที่รู้ก่อนได้เปรียบ
digital marketing ข้อดี มีดังนี้
1. เป็นสายงานที่มีการเปิดรับคนมากที่สุด
เนื่องจากแม้กระทั่งช่วงที่มีโรคระบาดหรือ Pandemic สถิติที่ผ่านมาสายงานด้านนี้ยังคงเติบโตขยายขึ้นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต
2. พฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันคนรุ่นใหม่ 90% เป็นแบบ Zero MOT
ปัจจุบันผู้คนเมื่อต้องการซื้อของไม่ว่าจะเป็นคนช่วงวัยใด สิ่งที่จะทำหลังจากมีความต้องการซื้อคือการค้นหาสินค้าหรือข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองต้องการซื้อผ่านเครื่องมือค้นหา Search Engine บนสมาร์ตโฟน น้อยคนมากที่จะเลือกเดินทางไปยังหน้าร้านเพื่อซื้อสินค้าด้วยตัวเองทันที พฤติกรรมของผู้บริโภคลักษณะนี้จึงทำให้การตลาดออนไลน์หรือ digital marketing คงอยู่ได้
3. เป็นการโปรโมตสินค้าและบริการต่าง ๆ
โดยที่การโปรโมตนั้นอาจมาจากการที่เราทำธุรกิจมีสินค้าหรือมีหน้าร้านอยู่แล้ว และต่อยอดทำการตลาดออนไลน์เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่จะติดต่อเข้าถึงธุรกิจสินค้าและบริการของเราได้ง่ายมากขึ้น ผ่าน 3 วิธีทำ ได้แก่
- ทำ Push media
บน Facebook YouTube Instagram เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นเรา
- ทำ Pull Media
ประเภทสายตั้งรับอย่าง Google Search ที่รอให้ลูกค้าซึ่งมีความต้องการอยู่แล้วเข้ามาค้นหาข้อมูลโดยเรามีหน้าที่ในการทำ Adsหรือนำสินค้าและการเข้าไปสนองความต้องการของลูกค้า
- ทำ CRM: Customer Relationship Management
ลูกค้าสัมพันธ์เกิดจากการที่ลูกค้ามีความต้องการในสินค้าและบริการระดับหนึ่งแล้ว จากนั้นเรามีหน้าที่ในการบอกประโยชน์ จุดดีเด่นของสินค้า เพื่อให้ลูกค้าเปลี่ยนจากแค่ความต้องการเข้ามาตัดสินใจซื้อ โดยการทำผ่านสื่อ LINE@ Gmail Messanger
digital marketing ข้อเสีย มีดังนี้
1. ต้องศึกษาทำความรู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ
เนื่องจากการตลาดออนไลน์หรือ digital marketing นั้นเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่เกิดคู่แข่งใหม่ขึ้นมาได้ทุกวันดังนั้นใครที่จะลงมาทำการตลาดออนไลน์ก็จะต้องสละเวลาในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลแบรนด์ใหม่ๆ โดยเฉพาะแบรนด์คู่แข่งที่มีสินค้าหรือบริการใกล้เคียงกับคุณ เพื่อให้เราสามารถรับมือ หรือต่อยอดเป็นไอเดียปรับกลยุทธ์ใช้ได้ทัน
2. กลุ่มเป้าหมายหลักมักเปลี่ยนพฤติกรรมไว
เนื่องจากผู้คนเข้าถึงโลกของสื่อออนไลน์ได้ง่าย ดังนั้นความสนใจที่จะถูกดึงดูดให้เอนเอียงไปในทิศทางใด ย่อมถูกปรับเปลี่ยนได้ง่ายเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าและธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น Gen Z คนหนุ่มสาวสมัยนี้มักจะถูกดึงดูดได้ผ่านสิ่งที่พวกเขาพบเจอบนโลกออนไลน์ ดังนั้นเราจะต้องศึกษาให้ไวและทันเวลาอยู่เสมอว่ากลุ่มเป้าหมายของเรา อายุเท่าไร มีพฤติกรรมสนใจอะไร เพื่อยังคงทำการตลาดออนไลน์ของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เอ้าท์หรือตกเทรนด์
3. เน้นขายอย่างเดียวไม่ได้
แม้ว่าการยิง ads ผ่านการทำ digital marketing จะง่ายเพียงใด แต่การทำให้ผู้ซื้อรู้สึกเหมือนถูกยัดเหยียดการโฆษณาหรือถูกบังคับให้ซื้อเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะจะส่งผลเสีย่อแบรนด์ ดังนั้นนักขายที่ดีจำเป็นจะต้องนึกถึงการให้คุณค่ากับกลุ่มลูกค้าด้วยว่าลูกค้าจะได้อะไรจากสินค้าและบริการของเรา นอกจากนี้หลังขายไปแล้วควรจะต้องรับฟังและทำความเข้าใจจุดที่ลูกค้าติชมอีกด้วย
การใช้ digital marketing เพื่อส่งเสริมการทำตลาดแบบ Affiliate
digital marketing การใช้ความรู้ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาส่งเสริมการทำการตลาด Affiliate สิ่งสำคัญที่ต้องทราบเบื้องต้นมี ดังนี้
การตลาดแบบ Affiliate
เป็นการตลาดแบบช่วยขาย ซึ่งมีพนักงานเข้ามาทำหน้าที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับคุณ โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินให้พวกเขาเป็น “เงินเดือน” แต่จ่ายเพียง “ค่า Comission” หรือส่วนแบ่งให้กับพวกเขาเมื่อสินค้าของคุณขายได้ หรือในกรณีที่ตัวคุณเป็นเจ้าของสื่อโซเชียล โดยมีจำนวนผู้ติดตามจำนวนมากมายหลายกลุ่มที่เชื่อถือในตัวคุณ คุณไม่จำเป็นจะต้องผลิตหรือทำสินค้าด้วยตัวเอง แต่อาศัยหลักการตลาดแบบ Affiliate สร้างรายได้ให้ตัวเองได้อย่างสม่ำเสมอ ผ่านวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ดีให้กับคนที่มาติดตาม
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (stakeholder)
- Advertiser ผู้ต้องการโฆษณาหรือขายสินค้าขายแบรนด์ตนเอง
- Publisher เจ้าของสื่อ เจ้าของช่องทางหรือเว็บไซต์ หรือเจ้าของโซเชียลมีเดียต่าง ๆ
- Customer ผู้ซื้อสินค้า
กระบวนการทำงาน
เมื่อ Advertiser อยากขายสินค้าที่มีจึงมองหา Publishcer เพื่อให้สามารถสื่อสารโน้มน้าวบอกต่อสิ่งดีๆ หรือจุดเด่นของสินค้าออกไปโดยใช้ digital marketing ต่าง ๆ ที่กำลังได้รับความนิยมทำให้ Customer ทราบ รู้จัก และมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าไปใช้ แน่นอนว่าประโยชน์ที่ได้จะได้รับกันทุกฝ่ายตั้งแต่ Advertiser ที่จะขายสินค้าได้ แต่จำเป็นจะต้องจ่ายเป็นค่าแนะนำหรือส่วนแบ่งค่าช่วยขายให้ Publisher จำนวนหนึ่ง ส่วนกลุ่มของ Publisher ก็จะได้รับเงินส่วนแบ่ง หรือค่าคอมมิชชั่นจากการแนะนำสินค้า ซึ่งแน่นอนว่า Publisher จะต้องลงทุนทั้งเงินและเวลาในการทำ digital marketing เพื่อทำการโฆษณา สร้าง content ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการขายสินค้า ส่วนของกลุ่มสุดท้าย Custumer ก็จะได้รับสินค้าไปใช้ได้ตามต้องการ
PUNDAI การตลาดแบบ Affiliate ตัวช่วยหารายได้จากการทำ digital marketing
PUNDAI เป็นเครื่องมือการตลาดแบบ Affiliate ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นส่วนกลางที่ทำให้ผู้ต้องการจะโฆษณาขายสินค้าของตนเองอย่าง Advertiser ได้เข้ามาค้นหาและพบเจอกับ Publisher ที่เป็น Influencer ผู้ทำหน้าที่บอกต่อสินค้าและบริการของคุณ โดยทาง PUNDAI มีความสามารถในการทำ digital marketing ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงกลุ่ม ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะแน่นอนว่าการทำการโฆษณาผ่านผู้ช่วยขายอย่าง Publisher ต่าง ๆ ย่อมทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือได้มากกว่าการยิง ads ขายตรงนั้นเอง
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
digital marketing กับ online marketing ต่างกันอย่างไร
digital marketing กับ online marketing เป็นการทำการตลาดที่เอื้อซึ่งกันและกัน โดยความแตกต่างของทั้งสองสิ่งคือ online marketing เป็นการทำการตลาดแบบใช้อินเทอร์เน็ตในการสื่อสารทำให้สินค้าเป็นรู้จักมากขึ้น เช่น การมีเว็บไซต์ร้านค้า ส่วนของ digital marketing เป็นการใช้ดิจิทัลเข้ามาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการสร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ และสร้างช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ เช่น การใช้เครื่องมือ SEO เพื่อดันให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกของเครื่องมือ Search Engine นั่นเอง