E-Commerce คืออะไร ทำไมทุกธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

เนื้อหาบทความนี้

“มีแต่คนโง่เท่านั้น ที่ทำสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทุกวัน แต่คาดหวังผลลัพธ์ใหม่ๆ” —อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คำกล่าวนี้นำมาใช้ได้จริงเลยค่ะในแง่ของธุรกิจเองก็เช่นกัน ถ้าอยากได้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่ทำวิธีเดิม ๆ ก็ยากที่จะทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวกระโดดอย่างมาก บรรดาพ่อค้าแม่ค้าไม่ต้องพึ่งพา “ตลาด” แบบหน้าร้านเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะตอนนี้มี E-Commerce ซึ่งเสมือนกับการตลาดออนไลน์ที่ “ทำเล” จะไม่มีผลกระทบต่อยอดขาย และสิ่งนี้จะเป็นตัวกลางที่เชื่อมเรากับลูกค้าได้จากทั่วทุกมุมโลก เพิ่มโอกาส เพิ่มรายได้อย่างไม่มีเพดาน

แต่หลายคนก็มองว่า E-Commerce นั้นไม่ได้ดีอย่างที่คิด เพราะมีข้อเสียและข้อจำกัดบางอย่าง ทั้งด้านอัลกอริทึมที่เอาใจย๊ากยาก! บทความนี้ทาง PUNDAI จึงได้นำบทวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย และเทคนิคขายของออนไลน์ บน E-commerce มาฝากเพื่อน ๆ ให้เคลียร์กันไปเลยว่า E-Commerce ดีจริงไหม ทำไมหลาย ๆ คนถึงแนะนำให้ใช้กับธุรกิจของตัวเอง

E commerce คืออะไร ?

คำว่า E commerce แปลว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นหากกล่าวง่าย ๆ E commerce หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าบนโลกอินเทอร์เน็ต ไม่มีหน้าร้านนั่นเอง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึง E-Commerce ได้ตลอดเวลา 24 ชม. ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ก็ได้ จากทั่วทุกมุมโลก

โดย E-Commerce จัดเป็นหนึ่งใน “ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งหมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำระหว่างธุรกิจ บุคคล รัฐบาล ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจ การค้า การประสานงาน โดยใช้วิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วน 

หากเพื่อน ๆ ที่มีความสนใจเริ่มต้นขายของออนไลน์ ทาง PUNDAI ของเราพร้อมนำเสนอสาระดี ๆ ด้านการทำการตลาดออนไลน์ และให้ความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ ที่สร้างความเชื่อมั่นและรายได้

E commerce มีกี่ประเภท

E-Commerce มีการจัดจำแนกเป็น E commerce มี 6 ประเภท คือ

Business to Business (B2B) : ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ

คือ การทำธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง เป็นการค้าขายเพื่อไปสร้างรายได้อีกทอดหนึ่งนั่นเอง ตัวอย่างธุรกิจ B2B เช่น โรงงาน OEM ที่ผลิตเสื้อผ้าขายส่งให้แบรนด์เสื้อผ้าหนึ่ง, ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์, ผู้ผลิต Software ขององค์กร เป็นต้น
Business to Customer (B2C) : ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค

คือ ธุรกิจที่ซื้อขายสินค้าให้ผู้บริโภคโดยตรง ตัวอย่างธุรกิจ B2C เช่น ร้านสะดวกซื้อ 7-11, ร้านขายมือถือ, ร้านขายหนังสือ เป็นต้น
Business to Government (B2G) : ผู้ประกอบการ กับ รัฐบาล

คือ ธุรกิจที่องค์กรค้าขายให้กับภาครัฐ ตัวอย่างธุรกิจ B2G เช่น บริษัท A รับเหมาก่อสร้างอาคารให้กับรัฐ, บริษัท B ขายอุปกรณ์สำนักงานให้แก่ภาครัฐ, บริษัท C ออกแบบโปรแกรมวิเคราะห์ Big DATA ให้ภาครัฐ เป็นต้น
Customer to Customer (C2C) : ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค

คือ การติดต่อซื้อขายของกลุ่มผู้บริโภคด้วยกันเอง ตัวอย่างธุรกิจ C2C เช่น ขายหนังสือมือสอง, เสื้อผ้ามือสอง, บ้านมือสอง เป็นต้น
Government to Customer (G2C) : รัฐบาล กับ ผู้บริโภค

คือ การบริการของภาครัฐให้แก่ประชาชนผู้เป็นผู้บริโภค ตัวอย่างธุรกิจ G2C เช่น การให้บริการจ่ายภาษีออนไลน์, การทำทะเบียนต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทย, การเปิดให้ดาวน์โหลดฟอร์มเอกสารราชการผ่านเว็บไซต์
Government to Government (G2G) : รัฐบาล กับ รัฐบาล

คือ การติดต่อแลกเปลี่ยนกันระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างกระทรวงต่าง ๆ เป็นต้น

ภาพรวมของการทำ E commerce platform

ในปัจจุบันผู้คนนิยมใช้แพลตฟอร์มออนไลน์กันเยอะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, แอปพลิเคชัน, เพจต่าง ๆ ใน Social Media โดยรวมแล้วมีวิธีทำทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. M-Commerce (Mobile E-Commerce) 

การซื้อขายสินค้าผ่านมือถือ ซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันผู้คนต่างมีการใช้ Smart Phone กันแทบทุกคนแล้ว นั่นทำให้ยอดการเข้าถึงสินค้าออนไลน์เป็นไปได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้ยอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะผู้คนชอบความสะดวกสบายและประหยัดเวลานั่นเอง

  1. Enterprise E-Commerce 

การซื้อขายกับบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ เมื่อมีการทำการค้าขายออนไลน์ ก็นับว่าเป็น Enterprise E-Commerce เช่นกัน

  1. Social Media E-Commerce 

การใช้ Social Media ในการเพิ่มการเข้าถึงจากลูกค้า สามารถขยายขนาดกลุ่มลูกค้าได้ใหญ่และรวดเร็วมากกว่าการขายแบบปกติ อีกทั้งยังสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าจำนวนมากได้ทันทีอีกด้วย เช่น Facebook, Twiiter, IG เป็นต้น

  1. Website E-Commerce 

การใช้ Website เป็นแพลตฟอร์มในการขาย โดยทำเว็บของแบรนด์ตัวเองเลย ซึ่งมีข้อดีในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ และไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชันให้กับการใช้ Marketplace บางเจ้า

  1. Marketplace 

แพลตฟอร์มค้าขายขนาดใหญ่ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่าง “ผู้ขาย” กับ “ผู้ซื้อ” ซึ่งสามารถทำให้ร้านค้าของเราเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกแบบง่าย ๆ ไม่ต้องเสียค่าดำเนินการดูแลเว็บไซต์เอง คนส่วนมากนิยมใช้ แต่ก็ต้องเสียค่าคอมมิชชันเป็นอัตรา Percent ให้เจ้าของ Marketplace ไป ตัวอย่างE commerce ในไทย เช่น Lazada, Shopee, JD Central เป็นต้น

ข้อดี-ข้อเสียของ E commerce online

ข้อดีของธุรกิจ e commerce

  1. สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
  2. สามารถเข้าถึงตลาดได้ทั้งทุกมุมโลก
  3. การสั่งซื้อออนไลน์ทำได้ง่าย
  4. ค่าดำเนินการต่าง ๆ น้อยกว่าการขายแบบเดิม
  5. ลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายมากขึ้น

ข้อเสียของ E commerce 2022

  1. ข้อจำกัดในการสื่อสาร เนื่องจากธุรกิจบางประเภทต้องการ “การสื่อสารแบบตัวต่อตัว” เนื่องจากต้องใช้ความเชื่อมั่นสูง
  2. ปัญหาทางเทคนิคที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอินเทอร์เน็ต, ปัญหาของอัลกอริทึม, Drive ข้อมูลเสียหาย
  3. ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากบนโลกออนไลน์การจารกรรมข้อมูลทำได้ง่ายมาก ทั้งข้อมูลร้านค้าและข้อมูลของลูกค้าเองก็ตาม
  4. การแข่งขันสูงมาก เนื่องจากใคร ๆ ก็สามารถทำได้ จึงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการว่าจะสร้างตัวตนให้แตกต่างอย่างไร
  5. เข้าถึงได้เฉพาะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกคนได้แบบ 100%

AI กับการยกระดับ E commerce models สำคัญต่อธุรกิจทุกประเภท

AI คือ ผู้ช่วยที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับทุกคน ในที่นี้จะมาดูความสำคัญในการทำให้ E-Commerce ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่กำลังเติบโตขึ้นอีกหลายเท่า

  1. AI กับการเพิ่มประสิทธิภาพให้ Search Engine

ตอนนี้ Voice E-Commerce หรือการค้นหาสินค้าด้วยเสียงกำลังพัฒนาโมเดลอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับความนิยมของการหาสินค้าด้วย ‘ภาพ’ ซึ่งตอบโจทย์ผู้ใช้งานอย่างมาก แก้ปัญหาที่ผู้ซื้อไม่รู้ว่าสินค้านั้นมีชื่อว่าอะไร แบรนด์อะไร ได้อย่างตรงจุดมาก

  1. Chat Bot ผู้ช่วยตอบปัญหา 

เดิม Chat bot ทำงานด้วยการจับ Keyword อัตโนมัติ แต่ตอนนี้มีการตอบกลับได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องจ้างแอดมินจำนวนมากเหมือนแต่ก่อน แต่ก็ควรจะใช้ควบคู่กับ “มนุษย์” เพื่อควบคุม และจากการวิจัยมนุษย์ยังสบายใจกับการคุยกับมนุษย์ด้วยกันมากกว่า

  1. การทดสอบสินค้าเสมือนจริงด้วย AR

เนื่องจากปัจจุบันทุกคนกำลังแข่งขันการทำงานด้วยเวลามากขึ้น จึงเป็นเรื่องไม่จำเป็นอีกต่อไปในการเดินทางไปลองสินค้าด้วยตัวเอง เมื่อใช้ AR ซึ่งทำให้เราได้ลองเห็น ลองสัมผัส สินค้าจริงก่อนได้

  1. AI ช่วยปรับราคาให้สอดคล้องกับ ‘ตลาด’ และ ‘นักช้อป’

ในยุคที่การแข่งขันการขายนั้นสูงมาก AI สามารถช่วยทำการส่งข้อมูลการเปรียบเทียบราคาที่ลูกค้ากำลังตัดสินใจ ส่งมาให้เราได้ รวมถึงเสนอ “ราคาพิเศษ” ให้เราตั้งให้ลูกค้า เพื่อสามารถช่วงชิงลูกค้าและปิดการขายได้ก่อนใคร

  1. AI ช่วยกรองรีวิวปลอม 

ปัจจุบันการรีวิวปลอมนั้นพบเห็นกันได้เยอะมาก ๆ ทั้งรีวิวจากร้านคู่แข่งเอง หรือการทำ Seedong Marketing (การตลาดแบบใช้หน้าม้า) เพื่อหลอกให้ลูกค้ารายอื่น ๆ เข้าใจผิด ในส่วนนี้ AI ก็สามารถตรวจจับความผิดปกติได้เช่นเดียวกัน

ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก หลังเกิดสถานการณ์ COVID-19 E-Commerce นั้นเติบโตขึ้นหลายเท่าแบบก้าวกระโดด และกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่อยู่กับวิถีชีวิตของใครหลาย ๆ คน ซึ่งการทำการธุรกิจโดยใช้ E-Commerce นั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างตัวตน ภาพลักษณ์ และขยายโอกาสต่าง ๆ ทางการค้าได้มาก PUNDAI เป็นเครื่องมือการตลาดออนไลน์แบบ Affiliate แปลว่า การตลาดที่เปิดโอกาสให้ผู้ขาย-ผู้แชร์-ผู้ซื้อได้มาทำ Community ร่วมกัน และพร้อมเป็น Marketplace เพื่อเป็นสื่อกลางของ “ลูกค้า” และ “ร้านค้า” ที่สร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการต้องเจอ ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนกำลังทำธุรกิจอยู่สามารถเข้าไปเปิดร้านค้ากับเราได้ทาง Line OA @pundaiofficial ได้เลยค่ะ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

E commerce มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ข้อดีของ E-Commerce คือ ความสะดวกสบายของผู้ประกอบการและผู้ซื้อ / การเข้าถึงตลาดได้ทั่วโลก / ใช้งบประมาณในการจัดตั้งน้อยกว่าการค้าขายแบบมีหน้าร้าน / มีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Cross-border e-commerce คืออะไร

การค้าขายแบบ E-Commerce ข้ามพรมแดน 

ADD LINE เพื่อเริ่มใช้ PUNDAI

คุณก็สามารถใช้ PUNDAI โดยไม่มีอะไรซับซ้อน ด้วยการแอดไลน์และเริ่มใช้งานได้ทันที หรือกด เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับบทบาทของผู้ใช้งาน เพื่อศึกษาบทบาทของเรา