ทำไม Influencer Marketing ถึงช่วยให้ธุรกิจปัง ยอดขายพุ่งแบบติดปีก

เนื้อหาบทความนี้

กำลังมองหาวิธีที่จะยกระดับธุรกิจของคุณไปอีกขั้นหรือไม่? การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์อาจเป็นคำตอบที่คุณกำลังมองหา ด้วยการใช้ประโยชน์จากพลังของ Influencer ในโซเชียลมีเดีย ร้านค้าต่าง ๆ สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้นและพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของตน ในบทความนี้จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับข้อดีของการทำ Influencer Marketing ให้ลึกลงไปมากขึ้น

Influencer Content Marketing คืออะไร?

Influencer Marketing คือ การตลาดออนไลน์ที่ใช้บุคคลที่มีอิทธิพลและผู้ติดตามจำนวนมากบนสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กในการโฆษณาและโปรโมตสินค้าหรือบริการของร้านค้า โดยให้ Influencer เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความสนใจและสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์หรือสินค้านั้น ๆ โดยรูปแบบของคอนเทนต์ที่นำเสนอจะเป็นไปตามแนวทางของช่องหรือสไตล์ของ Influencer แต่ละคน โดยร้านค้าอาจกำหนดกรอบความต้องการที่จะบรีฟให้โดยตรง

ยังไม่รู้ว่าจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายยังไง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่: ค้นหากลุ่มเป้าหมายตามการวิเคราะห์ตลาด ช่วยให้ทำ Affiliate Marketing ง่ายขึ้น

ประเภทของ Influencer ตามลักษณะที่ส่งอิทธิพล

กลยุทธ์ Influencer Marketing มีหลักการที่เน้นการโปรโมตสินค้าให้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้าง Brand Awareness และเสริมภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ โดยใช้อิทธิพลจาก Influencer เป็นหลักซึ่งการเลือก Influencer ให้เหมาะสมและตอบโจทย์นับเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นจึงควรรู้ก่อนว่าInfluencer Marketing มีกี่ประเภทกันนะ

1. The Celebrity (เซเลป ดารา คนมีชื่อเสียง)

Influencer กลุ่มนี้จะเป็นคนที่มีชื่อเสียงมาก อาจเทียบเท่าได้กับ Macro Influencer ซึ่งสามารถทำยอด Reach ผู้คนจำนวนมากได้ แต่อาจจะไม่ดีกับแบรนด์ร้านค้ามากนักเพราะผู้ติดตามไม่ได้เป็นกลุ่มเฉพาะคนที่มีความต้องการคล้าย ๆ กัน

2. The Authority (KOL ผู้นำความคิด)

Influencer กลุ่มนี้เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและความเชี่ยวชาญอย่างมากในสาขาหรืออุตสาหกรรมเฉพาะ และสามารถโน้มน้าวการตัดสินใจซื้อของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมและอาชีพของพวกเขา ทำให้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกสินค้าและแบรนด์

3. The Connector (คนหรือเพจที่แชร์คอนเทนต์หลากหลายประเด็น)

Influencer กลุ่มนี้ลักษณะเด่นส่วนใหญ่จะเป็นเพจที่ไม่ได้เล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะหยิบยกประเด็นที่กำลังเป็นไวรัลมาพูดถึง รวมถึงการแชร์เรื่องราวต่าง ๆ ผู้ติดตามส่วนมากจะชอบสไตล์และลีลาการเล่าเรื่องของเพจกลุ่มนี้ ด้วยเหตุผลที่อาจจะรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน อ่านเข้าใจง่าย หรืออ่านแล้วสนุกสนาน 

4. The Personal Branding (ปั้นตัวเองเป็นแบรนด์)

Influencer กลุ่มนี้จะเป็นการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ เช่น คนที่แชร์ความรู้เรื่องการพัฒนาตัวเอง, คนที่รักการออกกำลังกาย, คนที่ชอบรีวิวหนังสือ ซึ่งหากเป็นคนที่สร้าง Personal Branding ได้น่าสนใจก็มักจะได้รับการร่วมงานให้โปรโมตสินค้าเพื่อเพิ่ม Brand Awareness ให้แต่ละแบรนด์ได้ มักมีผลดีกับสินค้าที่อยู่ใน Niche Market ที่ต้องการแก้ไข Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุด

5. The Analyst (คนหรือเพจที่ชอบวิเคราะห์ข้อมูล)

The Analyst สำหรับ Influencer Marketing หมายถึงกลุ่ม Influencer ที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแบบค่อนข้างเจาะลึก รวมถึงพูดถึง Insight ต่าง ๆ ที่สื่ออื่นอาจไม่มี ทำให้ผู้ชมส่วนใหญ่ที่อยากรู้ความตื้นลึกหนาบางของเหตุการณ์สำคัญต่างมักจะเลือกชมจากกลุ่มนี้เป็นหลัก 

6. The Activist (นักเคลื่อนไหวทางสังคม)

นักเคลื่อนไหวทางสังคม คือ กลุ่มคนที่เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามอุดมการณ์ความเชื่ออย่างตั้งมั่น ทำให้แบรนด์ร้านค้าที่เลือกให้พวกเขาเป็นคนช่วยโปรโมตสินค้ามักจะได้ Engagement ที่ยอดเยี่ยมได้อย่างแน่นอน

7. The Expert (ผู้เชี่ยวชาญ)

Influencer กลุ่มนี้จะมีความรู้ความชำนาญในด้านที่ตัวเองสนใจอย่างลึกซึ้ง มีความน่าเชื่อถือสูงมาก ทำให้ผู้ติดตามเป็น Quality Audience ซึ่งเหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการความน่าเชื่อถือและการยอมรับสูงมาก ๆ ในการทำInfluencer Marketing ที่ดี

8. The Insider (สายข่าววงใน)

กลุ่ม Influencer นี้จะมีความคล้ายคลึงกับ The Expert แต่เข้าถึงได้ง่ายกว่าและรู้ข่าวสารการเคลื่อนไหวในวงการที่ผู้ติดตามสนใจได้ดี เช่น กูรูนางงาม ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทการประกวดและเป็นวงในของการประกวดนั้น ๆ 

9. The Agitator (คนหรือเพจที่ถกเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ)

Influencer กลุ่มนี้มักทำการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เรียกกระแสความสนใจของผู้คนได้เป็นจำนวนมาก การที่ร้านค้าจะร่วมงานกับผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้จะได้ยอดการเข้าถึงจำนวนมาก แต่ต้องระวังการสวนกระแสโต้กลับของกลุ่มผู้ติดตาม รวมถึงอาจสูญเสียภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ได้

10. The Journalist (คนหรือเพจที่แชร์ข่าวหรือสาระต่าง ๆ)

คนหรือเพจที่มักทำ Value Contents ให้ความรู้เกี่ยวกับสาระต่าง ๆ บนช่องทางต่าง ๆ รวมไปถึงการแชร์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับตัวเพจ เพจลักษณะนี้เหมาะกับการไปทำงาน Influencer Marketingที่เน้นการสร้าง Brand Awareness เป็นหลัก

Cr. ขอบคุณข้อมูลจาก Traackr

ข้อดี-ข้อเสียของการทำ Influencer Marketing

การทำ Digital Marketing หรือ การตลาดออนไลน์นั้นไม่ได้มีกลยุทธ์ใดที่ดี 100% เนื่องจากการตลาดแต่ละแบบก็มีจุดแข็งและจุดอ่อนแตกต่างกันออกไป โดย Influencer Marketing ข้อดีข้อเสียมีดังนี้

ข้อดีของการทำ Influencer Marketing

1. มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่และมีเป้าหมายชัดเจน

2. ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นในแบรนด์

3. เนื้อหาที่มีความสมจริงและเข้าใจได้ง่ายมากกว่าการโฆษณาแบบเดิม

4. เป็นการตลาดที่มีเป้าหมายแน่นอนและมีผลลัพธ์ที่ติดตามได้ชัดเจน

5. การสร้างคอนเทนต์ของเหล่า Influencer สามารถช่วยสร้าง Impact ได้

ข้อเสียของการทำ Influencer Marketing

1. ต้องมีการลงทุนทางการเงิน

2. ควบคุมผลลัพธ์และการสร้างเนื้อหาได้น้อย

3. การวัดผลและการบริหารจัดการอาจเป็นที่ยาก

4. ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการทำงานกับ Influencer อาจมีมากกว่าการทำโฆษณาด้วยตัวร้านค้าเอง

5. การเจริญเติบโตของตลาดและปัญหาความน่าเชื่อถือของ Content

เทคนิคทำ Influencer Marketing ให้ประสบความสำเร็จ

1. กำหนดเป้าหมายและผู้ชมเป้าหมายของคุณ

ระบุสิ่งที่คุณต้องการบรรลุผ่านแคมเปญการตลาดที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดขายสินค้า สร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ หรือเพิ่มผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดีย การทำความเข้าใจเป้าหมายของคุณจะช่วยให้คุณพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพได้

2. วิจัยและเลือก Influencer ที่เหมาะสม

ทำการวิจัยอย่างละเอียดเพื่อค้นหา Influencer ที่สอดคล้องกับคุณค่าแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายของคุณและมีความเชื่อมโยงอย่างแท้จริงกับผู้ติดตาม เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และอัตราการมีส่วนร่วมที่ดี 

3. ร่วมกันสร้างสรรค์คอนเทนต์

การที่คุณคอยควบคุมการทำงานของ Influencer อยู่อย่างต่อเนื่องจะมีส่วนช่วยให้งานที่ได้ออกมาตรงกับจุดมุ่งหมายของคุณมากขึ้น เนื่องจากคุณเป็นคนที่เข้าใจจุดมุ่งหมายและทิศทางของร้านค้ามากที่สุด ดังนั้นแล้วการสื่อสารให้เข้าใจกันในการทำInfluencer Marketing แปลว่า คุณกับ Influencer ต้องคุยเรื่องรายละเอียด เป้าหมายการทำคอนเทนต์ และสิ่งที่ต้องการจากคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้เข้าใจไปในทางเดียวกัน

4. ติดตามและวัดผล

สร้างตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) เพื่อติดตามความสำเร็จของแคมเปญการตลาดเช่น อัตราการมีส่วนร่วม การเข้าถึงและการกล่าวถึงแบรนด์ ใช้เครื่องมือติดตาม แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ และโปรแกรมการตลาดแบบพันธมิตรเพื่อวัดผลกระทบของแคมเปญของคุณอย่างแม่นยำ เพื่อให้เห็นถึงจุดบกพร่อง จุดอ่อนในการพัฒนาต่อไปได้

5. ประเมินและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

ประเมินประสิทธิภาพของแคมเปญผู้มีอิทธิพลของคุณเป็นประจำและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในอนาคต วิเคราะห์สิ่งที่ได้ผลดี ระบุจุดที่ต้องปรับปรุง และปรับแต่งกลยุทธ์ของคุณตามนั้น ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงในแนวการตลาดที่ใช้ผู้มีอิทธิพลเพื่อก้าวนำหน้าคู่แข่ง

จากที่ได้ทราบกันแล้วว่า Influencer Marketing คืออะไร มีข้อดีอย่างไร สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นทำการตลาดแบบพันธมิตร เน้นขายได้ด้วยการบอกต่อแบบเรียล ๆ บนโซเชียลแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ให้ PUNDAI สุดยอดเครื่องมือการตลาดแบบ Affiliate Marketing ช่วยให้คุณเปิดดีลและแชร์ให้เหล่า Influencer ช่วยโปรโมตได้เลย เพียงแอดไลน์มาที่ LINE Official: @pundaiofficial

บทความแนะนำ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ทำอย่างไรให้ Influencer Marketing ประสบความสำเร็จ

1. วางแผนอย่างชัดเจน
2. เลือก influencer ที่เหมาะสม
3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
4. ร่วมมือกับ influencer ในการสร้างเนื้อหา
5. วัดผลและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ

ADD LINE เพื่อเริ่มใช้ PUNDAI

คุณก็สามารถใช้ PUNDAI โดยไม่มีอะไรซับซ้อน ด้วยการแอดไลน์และเริ่มใช้งานได้ทันที หรือกด เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับบทบาทของผู้ใช้งาน เพื่อศึกษาบทบาทของเรา