7 แผนการตลาดสุดปังจากแบรนด์ดังที่ใช้แล้วประสบความสำเร็จจริง

เนื้อหาบทความนี้

การออกเดินทางในโลกของธุรกิจนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีแผนการตลาดเอาไว้ เพราะมันเป็นเครื่องมือสำคัญที่รวบรวมกลยุทธ์ เป้าหมาย และการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น การที่ไม่มีการเขียน แผนการตลาดก็มีความเสี่ยงไม่ต่างกับการเดินเรือโดยไร้แผนที่ นอกจากเสียเวลาเปล่าแล้วยังเป็นการใช้ทรัพยากรไปอย่างไม่มีคุณค่าอีกด้วย ถ้าคุณอยากเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ อย่าเลื่อนผ่านบทความนี้เป็นอันขาด เพราะมันจะช่วยจุดประกายแรงบันดาลให้คุณหันมาใส่ใจกับแผนที่การเดินทางของคุณให้มากขึ้นอย่างไม่รู้ตัว

แผนการตลาด คืออะไร?

แผนการตลาด หมายถึง การวางแผนธุรกิจที่สรุปกลยุทธ์ทางการตลาดโดยรวมของธุรกิจสำหรับช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยทั่วไปคือหนึ่งปี รวมถึงการวิเคราะห์โดยละเอียดเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย การแข่งขัน ตลอดจนจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ พร้อมระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการตลาด และสรุปการดำเนินการและกลยุทธ์เฉพาะที่ธุรกิจจะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ซึ่งอาจรวมถึงการโฆษณา การส่งเสริมการขาย โซเชียลมีเดีย การประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมทางการตลาดอื่น ๆ 

1. แคมเปญ Share a Coke ของ Coca-Cola

ตัวอย่างแผนการตลาดของแคมเปญนี้เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งขวดโค้กด้วยชื่อยอดนิยมและกระตุ้นให้ผู้คนแบ่งปันกันผ่านโซเชียลมีเดีย โดยแคมเปญ “Share a Coke” ของ Coca-Cola เป็นแคมเปญการตลาดที่เปิดตัวในปี 2554 ในออสเตรเลีย และหลังจากนั้นก็เปิดตัวในหลายประเทศทั่วโลก แนวคิดเบื้องหลังแคมเปญคือการสนับสนุนให้ผู้คนแบ่งปันโค้กกับผู้ที่มีชื่ออยู่บนขวดหรือกระป๋อง แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากและสร้างความฮือฮาบนโซเชียลมีเดีย เนื่องจากผู้คนแชร์รูปภาพของตัวเองกับขวดและกระป๋อง Coca-Cola ในแบบของตัวเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแคมเปญดังกล่าวก็ได้รับการขยายไปครอบคลุมรูปแบบต่าง ๆ เช่น Share a Coke with a Friend or Share a Coke with Family. ซึ่งเป็นตัวอย่างการตลาดที่ให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วม และยิ่งลูกค้าอยากมีส่วนร่วมมากเท่าไร ยอดขายก็พุ่งสูงขึ้นเท่านั้น

2. แคมเปญ Think Different ของ Apple

แคมเปญ “Think Different” ของ Apple เป็นตัวอย่าง marketing plan แผนการตลาดโฆษณาที่เปิดตัวในปี 1997 โดยแคมเปญนี้ออกแบบมาเพื่อเน้นย้ำถึงนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของ Apple เสนอผ่านชุดโฆษณาที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องการคิดต่าง เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, มหาตมะ คานธี และมาร์ติน ลูเทอร์คิง จูเนียร์

เหนือสิ่งอื่นใดความสำเร็จของแคมเปญนี้ไม่ใช่แค่เพียงดึงดูดลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้าง ความเป็นตัวตนและความภาคภูมิใจของพนักงาน Apple ที่รู้สึกว่าบริษัทของพวกเขากำลังทำสิ่งที่พิเศษและแตกต่างออกไป โดยรวมแล้ว แคมเปญ “Think Different” เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการตลาดที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทและขับเคลื่อนความสำเร็จได้อย่างไร

3. แคมเปญ Just do it ของ Nike

แคมเปญ “Just Do It” ของ Nike เป็นแผนการตลาด ตัวอย่างที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1988 แคมเปญนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ของบริษัทที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ลูกค้าทำตามความฝันของพวกเขา แคมเปญ “Just Do It” ของ Nike เป็นหนึ่งในแคมเปญโฆษณาที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาล และได้รับเครดิตว่ากระตุ้นยอดขายของ Nike ได้มากกว่า 1,000% ในช่วง 10 ปีหลังจากเปิดตัว ซึ่งแคมเปญนี้ยังคงถูกใช้โดย Nike จนถึงปัจจุบัน และเป็นเครื่องมือในการสร้างแบรนด์ของบริษัท รวมถึงเป็นการส่งเสริมชื่อเสียงในด้านคุณภาพและนวัตกรรมในชุดกีฬาอีกด้วย ซึ่งนี่ถือเป็นการควบคุมแผนการตลาดที่มุ่งเน้นในการสร้างภาพลักษณ์และให้ลูกค้าเกิดความภักดีกับแบรนด์ได้อย่างยอดเยี่ยม

4. แคมเปญ Belong Anywhere ของ Airbnb

แคมเปญ “Belong Anywhere” ของ Airbnb เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นแผนการตลาด กลุ่มเป้าหมายใหม่เป็นหลัก โดยแคมเปญนี้เปิดตัวในปี 2014 และเน้นไปที่การสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับลูกค้า โดยเน้นการมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครจาก Airbnb ซึ่งคอนเทนต์นี้ได้รับการถ่ายทอดผ่านช่องทางการตลาดที่หลากหลาย รวมถึงโซเชียลมีเดีย โฆษณาสิ่งพิมพ์ และโฆษณาดิจิทัล 

โดยแคมเปญดังกล่าวช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์และดึงดูดลูกค้าใหม่ได้อย่างดีเยี่ยม

5. แคมเปญ Real Beauty ของ Dove

แคมเปญ Dove’s Real Beauty เป็นแผนการตลาด onlineที่มีความคิดริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอเกี่ยวกับผู้หญิงที่มีความสวยงามแบบที่ตัวเองเป็น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดยึดติดเกี่ยวกับความสวย หรือที่เราเรียกว่า Beauty Standard  ซึ่งนอกจากจะเป็นการตลาดที่ส่งผลดีต่อสังคมแล้วแคมเปญนี้ยังประสบความสำเร็จในการเพิ่มยอดขายให้กับ Dove ตามรายงาน ยอดขายของ Dove เพิ่มขึ้นจาก 2.5 พันล้านดอลลาร์เป็น 4 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีแรกของแคมเปญ 

6. แคมเปญ I’m lovin’ it ของ Mcdonald

แคมเปญ “I’m lovin’ it” เป็นแคมเปญแผนการตลาด 4Pที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2546 ในเยอรมนี โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของบริษัทและดึงดูดลูกค้าที่มีอายุน้อย เป็นหลัก แคมเปญนี้ถูกนำไปเผยแพร่ทั่วโลกและแปลเป็นหลายภาษา ทำให้เป็นแคมเปญโฆษณาแรกของ McDonald’s ที่สร้าง Impact ไปทั่วโลก

แคมเปญนี้ใช้เสียงกริ๊งที่พวกเราคุ้นหู พร้อมสโลแกน “I’m lovin’ it” ยูนิฟอร์มใหม่สำหรับพนักงาน บรรจุภัณฑ์และป้ายใหม่ภายในร้าน ตลอดจนการโฆษณาที่แสดงให้เห็นว่าผู้คนเพลิดเพลินกับอาหารของแมคโดนัลด์

แคมเปญดังกล่าวได้ช่วยเพิ่ม Brandawareness ของ McDonald และดึงดูดกลุ่มประชากรที่อายุน้อยกว่าได้สำเร็จและเกิดภาพจำที่เราคุ้นเคยกันจนถึงทุกวันนี้อีกด้วย

7. การตลาด Affiliate Program ของ Booking.com

แผนการตลาด ระบบตัวแทน Booking.com เป็นแพลตฟอร์มการจองโรงแรมและที่พักออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีโปรแกรม Affiliate Program ที่ช่วยส่งเสริมการขายผ่านทางคู่ค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม โดยตัวแทนสามารถนำเสนอโรงแรมและที่พักที่มีให้บริการผ่าน Booking.com บนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ และจะได้รับค่าคอมมิชชั่นเมื่อผู้ใช้ทำการจองและทักผ่านลิงก์ที่ได้สร้างขึ้นโดย Affiliate Marketing ส่งผลดีต่อยอดขายของ Booking.com ที่มีการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้น ดึงดูดลูกค้าใหม่ และทำให้ลูกค้าปัจจุบันจองบ่อยขึ้น 

ทำความรู้จัก Affiliate Marketing ให้ลึกขึ้น อ่านบทความนี้ได้เลย: Affiliate แปลว่าอะไร กลยุทธ์นี้ดียังไง รู้จักไวถือว่าได้เปรียบ

นอกจากการใช้แผนการตลาดที่ดีแล้ว การประเมินผล แผนการตลาดก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่มากข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะมันจะทำให้เราปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้เข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นได้ สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ อยากประสบความสำเร็จด้านการตลาด PUNDAI เป็นเครื่องมือการตลาดแบบ Affiliate Marketing ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อของคนยุคใหม่เยอะมาก เพราะคนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจกับการบอกต่อและอ่านรีวิวก่อนซื้อสินค้ามากขึ้น ทำให้การตลาดรูปแบบนี้ปังเกินต้าน ช่วยเพิ่มยอดขายได้จริงแบบไม่ต้องเปลืองงบการโปรโมต หากอยากเริ่มต้นสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ LINE Official: @pundaiofficial

บทความแนะนำ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

แผนการตลาด อย่างน้อยควรมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

– บทสรุปสำหรับผู้บริหาร: ส่วนนี้แสดงภาพรวมของแผนการตลาดทั้งหมด
– การวิเคราะห์ตลาด: วิเคราะห์ตลาดเป้าหมาย รวมถึงขนาด แนวโน้ม ข้อมูลประชากร และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
– วัตถุประสงค์ทางการตลาด: สรุปเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
– กลุ่มเป้าหมาย: กำหนดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ
– กลยุทธ์ทางการตลาด: กลยุทธ์ที่ใช้เกี่ยวกับสินค้า การตลาดและการบริหารจัดการ
– งบประมาณ: รายละเอียดผลตอบแทนเกี่ยวกับแผนการลงทุน (ROI)
– แผนการดำเนินการ
– การตรวจสอบและวัดผล

ADD LINE เพื่อเริ่มใช้ PUNDAI

คุณก็สามารถใช้ PUNDAI โดยไม่มีอะไรซับซ้อน ด้วยการแอดไลน์และเริ่มใช้งานได้ทันที หรือกด เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับบทบาทของผู้ใช้งาน เพื่อศึกษาบทบาทของเรา