เตรียมตัวจ่ายภาษีขายของออนไลน์แบบถูกต้อง ต้องใช้อะไรบ้างมาดูกัน

เนื้อหาบทความนี้

การชำระภาษีเงินได้นั้นจัดเป็นหน้าที่สำคัญที่ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ในการยื่นและจ่ายภาษีให้ถูกต้อง สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่ยังรู้สึกว่าการชำระภาษีเป็นเรื่องเข้าใจยาก ขอให้ลองมาอ่านขั้นตอนตามที่ PUNDAI ได้ให้คำแนะนำตามด้านล่างนี้ รับรองว่าสามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้อย่างถูกต้องแน่นอน ส่วนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ คนที่ทำอาชีพเสริมออนไลน์ ที่ไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีอะไร เสียภาษีเท่าไร และต้องทำยังไงบ้าง ขอให้ลองทำตามขั้นตอนที่จะได้อ่านต่อไปนี้ แล้วภาษีจะกลายเป็นเรื่องง่ายเลยค่ะ

ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหน

การเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เมื่อมีรายได้ก็ต้องจ่ายภาษีเงินได้ โดยจะต้องจ่ายภาษีหรือไม่นั้น จะพิจารณาที่ “รายได้สุทธิ” หรือ “กำไรสุทธิ” เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งเมื่อได้รายได้จากการขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) เมื่อมีรายได้เกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 (กรณีสมรส) ต่อปี 

รูปแบบการยื่นภาษี 2565

1. หักค่าใช้จ่ายตามจริง

รูปแบบการยื่นภาษีแบบนี้เหมาะกับธุรกิจที่มีต้นทุนสูง ทำให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงตามไปด้วย ทำให้รายได้สุทธิที่นำมาคำนวณภาษีลดลงไป โดยวิธีนี้จะต้องมีการบันทึกรายรับรายจ่าย และเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และสะดวกตอนที่ยื่นภาษี

2. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%

รูปแบบการยื่นภาษีแบบนี้เหมาะกับธุรกิจที่มีกำไรเยอะ หมายถึงธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำกว่า 60% ของรายได้ ซึ่งข้อดีคือไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายกับสรรพากร และทำให้เจ้าของร้านออนไลน์แบบเราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมาด้วย

ยื่นภาษีออนไลน์ ต้องยื่นเมื่อไหร่ ?

ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะขายของออนไลน์เพียงอย่างเดียวก็ต้องจ่ายภาษี หรือทำเป็นอาชีพเสริมก็ต้องจ่ายภาษีเงินได้ ส่วนยื่นภาษี ได้ถึงเมื่อไร เรามีคำตอบค่ะ

  • รอบที่ 1 : ยื่นภาษีครึ่งปี โดยเสียภาษี 2565 คำนวณจากเงินได้นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. โดยนำแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 มายื่นภาษีภายในวันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ในปีเดียวกัน
  • รอบที่ 2 : เป็นการยื่นภาษีปลายปี ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปีมาคำนวณ นำมากรอกในฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป

*สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน VAT หรือจดภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้องมีการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และร้านค้าออนไลน์ต้องมีการออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ที่มาใช้บริการ

เตรียมตัวยื่นภาษี online 

  • ควรจัดทำบันทึกรายรับรายจ่าย และเก็บเอกสารการซื้อขายเอาไว้ เพื่อทำให้เราจัดการการเงินได้ง่ายมากกว่าการมาตามทำเอกสารย้อนหลัง
  • ควรจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมต่าง ๆ ให้ครบ นอกจากจะทำให้ไม่สับสนแล้วยังลดความเสี่ยงเมื่อสรรพากรทำการเข้ามาตรวจสอบด้วย โดยเฉพาะเคสที่สรรพากรตรวจพบว่า E-Payment มีจำนวนเงินโอนเข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี
  • แนะนำว่าควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการยื่นภาษีอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากแต่ละปีมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขค่อนข้างบ่อย จะช่วยให้เราจัดการภาษีได้อย่างถูกต้อง

เอกสาร ยื่นภาษีขายของออนไลน์ มีอะไรบ้าง

  1. เอกสารเกี่ยวกับการค้า บันทึกรายรับรายจ่ายของร้านค้าออนไลน์
  2. ฟอร์มการยื่นภาษี โดยของร้านค้าออนไลน์จะใช้เป็น ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 

วิธียื่นภาษีออนไลน์

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของสรรพากร คือ  www.rd.go.th  และคลิก ยื่นออนไลน์
  2. กดคลิก ยื่นภาษี ภ.ง.ด.90/ยื่นภาษี ภงด 91
  3. เข้าสู่ระบบด้วย เลขบัตรประชาชน และ รหัสผ่าน
  4. ตรวจสอบข้อมูลของคุณให้ถูกต้อง จากนั้นเลือก ทำรายการต่อไป
  5. เลือกสถานภาพผู้มีเงินได้ ให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ ตามช่องดังกล่าว และเลือกว่า ทำรายการต่อไป
  6. เลือกรายการเงินได้พึงประเมิน และ เลือกเงินที่ได้รับการยกเว้น/ค่าลดหย่อน จากนั้นคลิก ทำรายการต่อไป
  7. ใส่ข้อมูลการลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขที่คุณมี จากนั้นคลิก ทำรายการต่อไป
  8. หลังจากกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ทางเว็บไซต์ของสรรพากรจะทำการคำนวณภาษีและแจ้งอัตราภาษีที่คุณต้องจ่าย รวมถึงส่วนที่ต้องได้คืน และคลิก ทำรายการต่อไป
  9. ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ให้ถูกต้องแล้วคลิก ทำรายการต่อไป
  10. กรณีขอคืนภาษีทางกรมสรรพากรจะให้พิมพ์แบบเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และสามารถอัปโหลดเอกสารได้ที่ นำส่งเอกสารขอคืนภาษี  ได้ทันที หลังจากยื่นเสร็จเรียบร้อย

หากยื่นภาษี ผ่านเน็ตไม่ทัน ทำอย่างไร?

  • หากทำการยื่นทางออนไลน์ไม่ทัน ต้องไปทำเรื่องยื่นภาษีที่กรมสรรพากร และจะต้องเสียค่าปรับกรณียื่นภาษีไม่ทันตามกำหนดเวลา
  • กรณีที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการทางภาษี ต้องมีโทษทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
  • กรณีที่พยายามแสดงหลักฐานเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี มีโทษทางอาญา จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท
  • กรณีละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ระยะเวลาในการได้รับเงินคืนภาษี กำหนดไว้อย่างไร

กรณีที่คุณมีการจ่ายภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำ หรือไม่ได้มีหน้าที่ต้องเสีย กรมสรรพากรจะมีหน้าที่ในการคืนภาษีให้ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่ได้รับเอกสารร้องขอคืนเงินภาษีด้วยฟอร์ม ภ.ง.ด. 90/91 ที่คุณได้แจ้งเอาไว้เพื่อขอคืนภาษี

หากท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้สนใจการตลาดออนไลน์ ทาง PUNDAI ของเราพร้อมนำเสนอสาระดี ๆ ด้านการทำการตลาดออนไลน์ และให้ความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ที่สร้างความเชื่อมั่นและรายได้

เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อน ๆ ถึงแม้ว่าขั้นตอนการชำระภาษีขายของออนไลน์นั้นจะมีวิธี ยื่นภาษี ออนไลน์ที่หลายขั้นตอนหน่อย แต่รับรองเลยว่าเมื่อเพื่อน ๆ มีการจัดการทางการเงินที่เป็นระเบียบจะช่วยให้การเสียภาษีกลายเป็นเรื่องที่ไม่ยากแน่นอนค่ะ ซึ่งการเสียภาษีที่ถูกต้องจะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลในการตรวจสอบของทางกรมสรรพากร และเปิดกิจการของเราได้อย่างเปิดเผยนั่นเองค่ะ หากชื่นชอบคอนเทนต์สาระดี ๆ เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการและขั้นตอนการทำธุรกิจตั้งแต่การตั้งชื้อร้าน การเลือกสินค้าที่จะขาย ไปจนถึงวิธีสร้างเพจขายของออนไลน์ ก็อย่าลืมคอยติดตามการอัปเดตใหม่จาก PUNDAI นะคะ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ขายของออนไลน์ยื่นภาษียังไง

กรณีที่จดทะเบียนการค้าจะต้องยื่นแบบนิติบุคคล ถ้าไม่ได้จดทะเบียนการค้าจะต้องเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา โดยการยื่นเสียภาษีแบบครึ่งปีและปลายปี

ยื่นภาษีขายของออนไลน์ที่ไหน

สามารถยื่นได้ที่กรมสรรพากร หรือยื่นทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของสรรพากร

ยื่นภาษีขายของออนไลน์วันสุดท้ายวันไหน

ในส่วนนี้ต้องติดตามข่าวสารในแต่ละปีเพราะจะมีกำหนดการที่แตกต่างกันออกไป

ADD LINE เพื่อเริ่มใช้ PUNDAI

คุณก็สามารถใช้ PUNDAI โดยไม่มีอะไรซับซ้อน ด้วยการแอดไลน์และเริ่มใช้งานได้ทันที หรือกด เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับบทบาทของผู้ใช้งาน เพื่อศึกษาบทบาทของเรา