เรียกได้ว่าธุรกิจการขายของออนไลน์มาแรงอันดับหนึ่งกันเลยในยุคหลัง ๆ นี้ใคร ๆ ก็หันมาเปิดร้านค้าออนไลน์กันเพื่อหาอาชีพเสริมออนไลน์ หรือรายได้เสริม เนื่องด้วยเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นง่ายยิ่งบนโลกออนไลน์ด้วยแล้ว ทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเช่าหน้าร้าน ไม่ต้องมีคนเฝ้าหน้าร้าน แถมเปิดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ว่าแต่ร้านค้าออนไลน์คืออะไร แล้วถ้าเปิดร้านแล้วจะต้องจดทะเบียนไหม แล้วอยากขายดีต้องทำยังไง เรามาอ่านกันในบทความนี้กันเลย
ร้านค้าออนไลน์คือ
คือการขายสินค้าหรือบริการบนโลกออนไลน์โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ ผ่านร้านค้าออนไลน์ได้แก่บน E-Marketplace, Website และ Soical Media ต่าง ๆ
ร้านค้าออนไลน์มีอะไรบ้าง
ร้านค้าออนไลน์แบ่งออกเป็นหลายช่องทางได้แก่
E-Marketplace
แอปพลิเคชันที่เป็นสื่อกลาง หรือเป็นตลาดซื้อขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ หรือ ผ่านแอปพลิเคชันที่มีระบบจัดการสินค้าของผู้ขาย ซึ่งได้แก่ Shopee, Lazada, JD Central
Website
เป็นอีกหนึ่งร้านค้าออนไลน์ที่สามารถเปิดได้ฟรี ที่มีระบบหลังบ้านให้เข้าไปจัดการวางขายสินค้า ตั้งราคา กำหนดจำนวนสต็อกสินค้าได้เอง เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ตอบโจทย์ให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่สนใจเปิดร้านบนเว็บไซต์ฟรีได้เลย มีอะไรบ้าง Lnwshop.com, weloveshopping.com, tarad.com, makewebeasy.com, KAIDEE. Pantip Market. Page365Store
Social Media
สื่อสังคมออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร แบ่งปันเรื่องราวผ่านสื่อกลางอย่างอินเทอร์เน็ต โดยปัจจุบัน Soical Media ได้ถูกนำมาใช้ในการทำธุรกิจในการเปิดร้านค้าออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก และเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีข้อดีมากมายโดยผู้ให้บริการ Social Media ได้แก่ Facebook, Instagram, TikTok, Youtube, Twistter
การตั้งชื่อร้านค้าออนไลน์
การตั้งชื่อร้านดีก็เป็นมงคลไปกว่าครึ่ง เรียกเงินทองให้ไหลมาเทมาได้เช่นกัน ยิ่งคนที่สายมูเตลูด้วยแล้ว ดังนั้นเรามาดูหลักการตั้งชื่อร้านค้าออนไลน์กันดีกว่า
1.ตั้งชื่อร้านให้มีความหมายเป็นสิริมงคล
ตั้งชื่อร้านให้มีความหมายเป็นสิริมงคล ได้แก่ชื่อร้านที่ประกอบไปด้วยคำว่า ทรัพย์สิน อุดมสมบูรณ์ มงคล เจริญ รุ่งเรือง ร่ำรวย เป็นต้น
2.ตั้งชื่อร้านที่เป็นจุดเด่นของสินค้า
เพื่อให้ลูกค้าเห็นแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าร้านนี้ขายสินค้าอะไรเป็นหลัก สินค้าประเภทไหน บางร้านใช้ชื่อร้านที่เป็นแหล่งที่มาของสินค้า เช่น กางเกงลายช้าง จานตราไก่ กระเป๋า Bao Bao เป็นต้น
3.ตั้งชื่อร้านที่มีคำว่า Shop หรือ Store
คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายว่า ร้านค้า เป็นคำที่บ่งบอกว่าชื่อนี้ ร้านนี้ เป็นร้านค้าขายของออนไลน์ แนะนำให้ลองนำชื่อของคุณแล้วใส่คำว่า Shop Store รวมกันได้ เช่น TubTim_Shop, Jenny_Store.
จุดแข็งของร้านค้าออนไลน์
- ร้านค้าสามารถเปิดขายสินค้าได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด
- ช่วยทำให้ลูกค้าสามารถเลือกชมสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการแม้ยามค่ำคืน
- ลูกค้าสามารถสั่งซื้อและโอนเงินเข้ามาได้เอง ทำให้มีรายได้เข้ามาตลอด
- ร้านค้าออนไลน์ไม่ต้องมีค่าเช่า
- ร้านค้าออนไลน์ไม่ต้องจ้างพนักงานให้เฝ้าหน้าร้าน
- ร้านค้าออนไลน์สามารถวางขายสินค้าได้ไม่จำกัดพื้นที่ มีระบบหลังร้านคอยซัพพอร์ต
ร้านค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนไหม
โดยทั่วไปร้านค้าออนไลน์จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถไปยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://ereg.dbd.go.th
- ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพ ให้เดินทางไปที่สำนักงานเขตใกล้บ้าน
- ผู้ประกอบการในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล
การจดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้าออนไลน์สามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. สร้างเว็บไซต์ของธุรกิจ หรือ สร้างเพจเฟซบุ๊ก ชื่อร้านค้าให้เรียบร้อย พร้อมออนไลน์
2. ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. ยื่นเอกสารเพื่อขอใช้เครื่องหมาย DBD Registered
ร้านค้าออนไลน์ อยากขายดี ต้องทำยังไง
1. วางแผนการตลาด
โดยการวิเคราะห์สถานการณ์ วัตถุประสงค์ทางการตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมายและวัดขนาดความต้องการซื้อของตลาด การจัดเตรียมแผนการตลาดสำหรับปี แผนรวมกิจกรรมการตลาดของทั้งปีสำหรับธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่าง
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
เป็นใคร เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ อยู่ที่ไหน ประเทศ จังหวัด พื้นที่ มีพฤติกรรมแบบไหน กำลังสนใจเรื่องอะไร สนใจคอนเทนต์แบบไหน
3. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
ตั้งเป้าหมายการขายของออนไลน์ให้ชัดเจนว่าร้านค้าออนไลน์ของคุณจะมีการสั่งซื้อกี่ออเดอร์ต่อวัน มียอดขายต่อเดือน 100,000 บาทต่อเดือน มีคนติดตามเพจเฟซบุ๊ก 10,000 คน มีกำไรจากการขาย 50,000 บาทต่อเดือน
4. เลือกช่องทางในการโปรโมตสินค้า
การเลือกช่องทางการขายสินค้าจำเป็นต้องเลือกว่าจะขายเฉพาะช่องทางไหน แต่ละช่องมีจุดเด่นแตกต่างกันไป เช่น
- Social Media – ช่องทางนี้จะเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้สร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้อย่างดี เปิดการขายได้สบาย
- Marketplace – คือช่องทาง Shopee Lazada ช่องทางที่นำสินค้าไปลงขายได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่เหล่าขาช้อปเข้ามาค้นหาสินค้ามากมายทำให้ช่องทางนี้มีการขายที่น่าดุดันน่าดู
- Website – ร้านค้าที่มีเว็บไซต์จะช่วยให้ร้านสามารถเข้าถึงจากกลุ่มลูกค้าที่มาจาก Google Search จะมีคุณภาพมากกว่าเพราะมาจากการค้นหาข้อมูลโดยตรง
- จ้างนักรีวิวสินค้าและบริการ หรืออินฟลูเอนเซอร์ – บริการใหม่ที่กำลังนิยมโดยการจ้างนักรีวิวสินค้าและบริการหรือที่เราเรียกกันว่าอินฟลูเอนเซอร์ ผู้มีอิทธิพล บุคคลเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อผู้คนที่ได้เห็นการรีวิวจากคนเหล่านี้มาก ไม่ว่าพวกเขาพูดอะไร จะได้รับการเชื่อและฟังในสิ่งที่พวกผู้มีอิทธิพลพูดไปซะทุกเรื่อง ด้วยเหตุนี้เองทำให้อินฟลูเอนเซอร์เป็นอะไรที่เจ้าของแบรนด์มักจะชอบที่จะจ้างพวกเขามารีวิวสินค้าและบริการให้นั่นเอง
PUNDAI เครื่องมือสำหรับร้านค้าออนไลน์และเหล่าอินฟลูเอนเซอร์
สำหรับร้านค้าออนไลน์ และเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ที่ต้องการเพิ่มยอดขาย หรือขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นรวมถึงตรงกลุ่มเป้าหมาย เราแนะนำให้ใช้เครื่องมือที่ทรงคุณภาพที่สุดคือ PUNDAI ปันได้ ในการทำการตลาดแบบ Affilaite แปลว่า การตลาดผ่านการเชิญตัวแทนและแบ่งเปอร์เซ็นต์เงินปันค่าคอมมิชชั่น
PUNDAI พัฒนาเป็น Web-based App ทำให้เข้าถึงได้ผ่านการแชร์ลิงก์จากโซเชียลมีเดียได้ทุกแฟลตฟอร์ม ซึ่งตอบโจทย์ทุกการขายออนไลน์ที่สามารถเข้าใช้งานได้ผ่านทาง Line Official : @pundaiofficial ตลอด 24 ชั่วโมง
คำถามที่พบบ่อย FAQ
ร้านค้าออนไลน์ยอดนิยมมีอะไรบ้าง
ร้านค้าออนไลน์ที่ยอดนิยมในปัจจุบันที่มีผู้คนช้อปปิ้งมากที่สุดได้แก่ Lazada, Shopee, Shopat24, Central Online, Kaidee, Weloveshopping, PantipMarket, Tarad, MyShop. เป็นต้น
ร้านค้าออนไลน์เสียภาษียังไง
เบื้องต้นร้านค้าออนไลน์หรือผู้ขายของออนไลน์ต้องเข้าใจในเรื่องภาษีออนไลน์ไว้เหมือนกันเพื่อการเสียภาษีได้ถูกต้อง
1. ผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์ทุกคน จะต้องเสียภาษี
โดยมีกำหนดว่า ถ้ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ มีเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี ต้องยื่นแบบภาษีทุกคน
2. ร้านค้าออนไลน์ที่ขายของออนไลน์ รายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี
หากร้านค้าออนไลน์รายได้เกิน 60,000 บาทต่อปีจะต้องยื่นแบบเสียภาษีก่อน ส่วนจะเสียภาษีหรือไม่จะต้องดูรายได้สุทธิอีกครั้ง กรณีขายของออนไลน์เงินได้สุทธิเกิน 60,000 บาทต่อปีต้องยื่นแบบภาษี โดยแบ่งเป็น 2 กรณี
กรณียื่นแบบภาษี – บุคคลธรรมดาที่ขายของออนไลน์มีรายได้เกิน 60,000 – 120,000 บาท จะต้องยื่นภาษีเงินได้
กรณีต้องยื่นแบบและต้องเสียภาษี – หากไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท/ปี ไม่ต้องเสียภาษี
เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท/ปี เสียภาษี 5%
เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท/ปี เสียภาษี 10%
เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท/ปี เสียภาษี 15%
เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 20%
เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 25%
เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 30%
เงินได้สุทธิ 5,000,001 ขึ้นไป เสียภาษี 35% ของรายได้
ร้านค้าออนไลน์ยื่นภาษีแบบไหน
ร้านค้าออนไลน์ หรือธุรกิจออนไลน์จะต้องเสียภาษีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีเงินได้จะเสียตามรูปแบบของธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน หากบุคคลธรรมดาจะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล