เมื่อคุณก้าวเข้าสู่อาชีพการขายสินค้าออนไลน์แล้ว ช่วงแรกคุณอาจจะยังไม่เข้าใจถึงการขายสินค้าออนไลน์ได้ดีทำอย่างไร ดังนั้นคุณควรเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์ว่าทำอย่างไร แล้วจะขายช่องทางไหนบนโลกออนไลน์ที่ได้รับความนิยม การเรียนรู้ถึงขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์ จะช่วยให้คุณขายสินค้าออนไลน์ได้อย่างประสบความสำเร็จ
วันนี้ PUNDAI มีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์มีอะไรบ้าง วิธีขายของออนไลน์ให้ปัง ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ พร้อมเทคนิคขายของออนไลน์ มาฝากกัน หากใครกำลังต้องการขายสินค้าออนไลน์ ต้องอ่าน บทความนี้กันนะ รับรองว่าเทคนิคที่ได้สามารถนำไปใช้ได้เลย
การขายสินค้าออนไลน์คือ
คือการนำสินค้าและบริการไปวางขายผ่านช่องทางต่าง ๆ Social Media บนโลกออนไลน์ โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อสินค้า เช่น การขายบน Website, E-Marketplace เช่น Shopee Lazada และบน Social Media ได้แก่ Facebook Fanpage, Line Official, Instagram, TikTok และ Twitter. ซึ่งเป็นการขายสินค้าออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว และสามารถทำการค้าขายได้ทุกที่ทุกเวลา
ขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์ ทำอย่างไรบ้าง
1. ต้องรู้ว่าจะขายสินค้าออนไลน์อะไร
เลือกจากสิ่งที่ใช่ – เริ่มจากการสำรวจในตลาดว่าสินค้าอะไรเป็นที่ต้องการ มากที่สุด สามารถนำมาขายให้ได้กำไรได้หรือไม่ ตัวอย่างยุคของอุปกรณ์ไอทีที่มาแรงตลอดเช่น สมาร์ตโฟน พาวเวอร์แบงค์ โน้ตบุ๊ก หรือถ้าไม่รู้ว่าจะขาย อะไรสามารถสำรวจได้บน Google ว่าสินค้าออนไลน์ที่ขายดีที่สุดมีอะไรบ้างได้เช่นกัน
เลือกจากสิ่งที่ชอบ – การได้เลือกขายสินค้าในสิ่งที่คุณชอบคุณรัก จะเป็นอะไรที่คุณสามารถปิดการขายได้ดีมาก ๆ เพราะคุณจะรู้ในรายละเอียดสินค้านั้น ๆ อย่างดี นอกจากจะขายได้ดีแล้วคุณยังมีความสุขไปกับการขายอีกด้วย
2. ศึกษาและวางแผนการตลาด
การขายสินค้าออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จต้องมีการวางแผนที่ละเอียดรอบคอบและสามารถนำไปใช้ได้จริง ถือเป็นขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์ที่สำคัญ โดยเริ่มต้นจาก
2.1 ตั้งชื่อแบรนด์หรือชื่อร้าน
การจะตั้งชื่อแบรนด์หรือชื่อร้านที่เกิดขึ้นใหม่เป็นอะไรที่ท้าทายค่อนข้างมาก แต่วันนี้เราจะบอกสูตรการตั้งชื่อร้านให้เพื่อน ๆ คือต้อง อ่านง่าย จำง่าย สั้นกระชับ คุ้นหู
- อ่านง่าย – คือการตั้งชื่อแบรนด์ชื่อร้านที่อ่านได้ง่าย ๆ เห็นแล้วอ่านได้ทันที ไม่ต้องพยายามสะกด
- จำง่าย คุ้นหู – ควรตั้งชื่อแบรนด์ชื่อร้านให้จดจำง่ายและคุ้นหู เห็นชื่อแล้วจำได้ทันที ซึ่งขึ้นอยู่กับสไตล์การตั้งชื่อของแต่ละคนเลย ตัวอย่างหากคุณขายชุดคลุมท้อง ชื่อแบรนด์ควรมีคำว่า Mom หรือ Dress เมื่อลูกค้าเห็นก็จะจำได้ทันที และสามารถค้นหาบนกูเกิลได้ง่ายขึ้น
- สั้นกระชับ – ตั้งชื่อแบรนด์ชื่อร้านให้สั้นกระชับ ได้ความหมายที่ดีสื่อความหมายให้กับแบรนด์ได้ เมื่อเอ่ยชื่อแบรนด์คนซื้อก็นึกออกได้ทันที
2.2 รู้จักกลุ่มเป้าหมาย
ก่อนที่คุณจะเริ่มขายของออนไลน์ คุณจำเป็นต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายแบรนด์ของคุณก่อน รู้ว่าลูกค้าของคุณคือใคร เพื่อช่วยให้คุณสามารถทำการตลาดออนไลน์ในด้านการทำคอนเทนต์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องทำการวิเคราะห์ได้แก่
- ลูกค้าของคุณเป็นใคร – อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ
- ลูกค้าของคุณอยู่ที่ไหน – จังหวัด ประเทศ
- ลูกค้าของคุณมีพฤติกรรมแบบไหน – มีพฤติกรรมชอบทำอะไร กำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่
2.3 กำหนดเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้จริง
วิธีการขายของออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ สำคัญคือต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถวัดผลได้จริง โดยฝึกเริ่มตั้งเป้าหมายจากง่าย ๆ ก่อน ตัวอย่าง
- ขายของได้มียอดขาย 10,000 บาทต่อเดือน
- มีผู้ติดตามในเพจเฟสบุ๊ค 5,000 คนภายใน 6 เดือน
- แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น โด่งดังบนโลกออนไลน์
3. เลือกช่องทางโปรโมทสินค้า
ขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์ที่ขาดไม่ได้เลยคือ การเลือกช่องทางการขายสินค้าควรที่จะเลือกขายบนโลกออนไลน์ได้หลายช่องทาง ไม่ว่าช่องทางไหนก็สามารถวางขายสินค้าออนไลน์ได้อย่างดี เช่น
- Website
การทำเว็บไซต์แบรนด์ตัวเองเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านแล้ว ยังช่วยให้ลูกค้าที่มาจาก Google หาร้านคุณเจอได้ง่ายอีกด้วย ถ้าคุณสามารถทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับหน้าแรกของ Google ได้ก็จะยิ่งทำให้คนค้นหาร้านคุณเจอและมีโอกาสซื้อขายสินค้าได้เพิ่มเช่นกัน
- ช่องทาง Social Media
ปัจจุบันคนไทยเล่น Social Media มากถึง 81.2% เพราะโลกสังคมออนไลน์สามารถเข้าถึงผู้คนได้รวดเร็วในเวลาไม่กี่นาที ซึ่ง Social Media ที่ฮอตฮิตที่สุดคือ Facebook, Instagram, TikTok, Line Offical Account, Marketplace Shopee Lazada และ Pundai
ซึ่งทุกช่องทางที่เรานำเสนอนี้ เป็นช่องทางการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่นิยมมากที่สุด เพราะมีข้อดีมากมาย เช่น ไม่ต้องเช่าหน้าร้าน เพราะสามารถใช้วิธีสร้างเพจขายของออนไลน์ขึ้นมาบนแพตฟอร์มต่าง ๆ ได้ฟรี เปิดร้านได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบตอบรับอัตโนมัติที่คุณสามารถสร้างขึ้นได้เอง มีระบบหลังบ้านที่อำนวยความสะดวกให้กับร้านค้า ทำให้คุณสามารถขายสินค้าออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบายที่สุด
4. กำหนดช่องทางการชำระเงิน
อีกขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์ที่สำคัญไม่แพ้กันคือช่องทางการชำระเงินออนไลน์ผ่านธนาคารเช่น Kplus, SCB easy, Krungthai NEXT, หรือ ชำระเงินปลายทาง
ซึ่งคุณต้องมีช่องทางการชำระเงินหลายช่องทาง เพราะหลายคนอาจไม่มีบัตรเครดิต ทั้งนี้เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้สะดวกสบายจะได้ปิดการขายได้เร็วยิ่งขึ้น
5. ติดต่อกับระบบขนส่ง
แน่นอนการซื้อขายสินค้าออนไลน์จะต้องมีการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า ดังนั้นคุณต้องมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ หรือมืออาชีพด้านการขนส่ง คุณสามารถติดต่อบริษัทขนส่งเอกชนอย่าง Kerry Express, Flash Express, J&T Express, Ninja Van, SCG Express, หรือ ไปรษณีย์ไทย ตามที่คุณสะดวก และสามารถเทียบราคาขนส่ง 2565 เพื่อประกอบการตัดสินใจด้วยได้
เทคนิคการขายสินค้าออนไลน์
1. ทำคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์
การตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้ามักจะอ่านจากคอนเทนต์ที่แบรนด์เขียนขึ้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นคุณควรทำคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ น่าสนใจ และเข้าใจง่าย เช่น คอนเทนต์ที่ให้ความรู้ เทคนิคการใช้งาน แต่ไม่ควรเขียนที่เป็นการตั้งใจขายสินค้าโดยตรง เพราะจะทำให้ลูกค้าไม่อยากอ่านและอาจเลื่อนโพสผ่านได้ทันที
2. ทำภาพสินค้าสวย ๆ สะดุดตา
การโปรโมทสินค้าอีกวิธีคือการทำภาพสินค้า หรือภาพ Infographic สวย ๆ โดยการย่อเนื้อหาในรูปแบบที่เข้าใจง่ายเป็นภาพสวย ๆ สีสันสดใสออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะการตัดสินใจซื้อของลูกค้าส่วนหนึ่งมาจากการเห็นภาพสินค้าสวย ๆ สะดุดตาจะช่วยดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าหยุดดูและอ่านข้อมูลสินค้าได้เช่นกัน
3. การให้ Influencer หรือ ดาราช่วยโปรโมท
อีกวิธีในการโปรโมทสินค้า ร้าน แบรนด์ที่ได้ผลในปัจจุบันคือการให้ Influencer หรือ ดาราช่วยโปรโมท เพราะพวกเขาเหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในสังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก มีแฟนคลับตัวยงซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน มีความเชื่อมั่นในตัว Influencer ดารามาก ซึ่งจะช่วยให้ยอดขายสูงมากขึ้นตามไปด้วย
4. ขอให้ลูกค้ารีวิวร้านหรือสินค้าคุณ
เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าคุณแล้ว คุณควรขอให้ลูกค้าช่วยรีวิวสินค้าหรือบริการของร้านค้าด้วย โดยเปิดช่องทางให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็น หรือให้คะแนนสินค้าของคุณได้หลายช่องทาง โดยคุณควรมีคะแนนสะสมหรือส่วนลดให้ในการซื้อครั้งต่อไป
เพราะการรีวิวของลูกค้าเป็นเหมือนพลังอันยิ่งใหญ่ เคยได้ยินคำว่า “ปากต่อปาก” หรือไม่ ซึ่งการทำแบบนี้เป็นการให้ผู้ใช้สินค้าเราได้ช่วยโปรโมทสินค้าแทนคุณ เพียงเท่านี้คุณจะได้ความเห็นจากลูกค้าที่ใช้สินค้าคุณจริง ๆ มาเป็นตัวการันตีประสิทธิภาพของสินค้าคุณโดยไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาใด ๆ เลย
5. การรับประกันสินค้า
การซื้อสินค้าออนไลน์เป็นสิ่งที่เห็นด้วยตาเปล่า ไม่สามารถจับต้องสินค้าได้ทำให้กลัวว่าสินค้าจะไม่ตรงปกและไม่ได้คุณภาพ ดังนั้นคุณควรมีการรับประกันสินค้าให้ลูกค้าด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่กล้าตัดสินใจสั่งสินค้าจากร้านคุณ เช่น การรับประกัน 3-6 เดือน หรือ 1 ปี ที่สำคัญคุณต้อง มั่นใจก่อนว่าสินค้าและบริการของคุณมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ไม่ได้เอาสินค้าด้อยคุณภาพมาขาย
ช่องทางการขายออนไลน์รูปแบบใหม่กับ PUNDAI
PUNDAI เป็นเครื่องมือทางการตลาดแบบ 2in1 ที่คิดค้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ตัวแทนอย่างครบวงจร เป็นนวัตกรรมด้านการตลาดที่ทำให้ผู้ขายสามารถเพิ่มยอดขายได้ ช่วยเปิดร้านออนไลน์ที่ตอบโจทย์นักขายตัวจริง เครื่องมือให้ผู้ที่มีคนเชื่อถือช่วยแนะนำบอกต่อที่ดีที่สุด
และหากเพื่อน ๆ ต้องการแพลตฟอร์มการขายของออนไลน์ที่ครบวงจรสามารถมาขายของออนไลน์ได้ที่ PUNDAI สามารถใช้ร่วมกับ LINE อยู่ที่ไหนก็ทำให้การซื้อขายได้ไม่สะดุด ระบบรองรับทุกรูปแบบธุรกิจ
สามารถติดต่อเราหรือต้องการ Chai กับ PUNDAI สามารถแอดไลน์ Line@pundaiofficial หรือโทรสอบถามกับเราที่ 02-0968787
คำถามที่พบบ่อย FAQ
ขายของในไหนขายดี
แพลตฟอร์มที่จะช่วยให้คุณขายของออนไลน์ ได้แก่
Website – ที่คุณสร้างขึ้นเอง จดโดเมนเนมเอง มีชื่อเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
Social Media – Facebook Fanpage, Instagram, TikTok shop, Line My Shop ,Twistter เป็นต้น
E-Marketplace – Shopee, Lazada, TARAD, Kaidee, Weloveshopping, PantipMarket และ PUNDAI
ทั้งหมดเป็นเครื่องมือการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ได้ประสิทธิผลที่สุด
ขายสินค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนไหม
การขายสินค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชย์กิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
ภาษีการขายสินค้าออนไลน์
ภาษีของการขายสินค้าออนไลน์นับเป็นภาษีเงินได้จากการค้าขาย มีการแบ่งการคำนวณเป็น 2 ประเภทคือ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล : กรณีเป็นร้านค้านั้น ๆ มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท
การคำนวณอัตราภาษีคิดตามอัตราขั้นบันไดตามกฎหมายกำหนด และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีได้คือ
1. สำหรับร้านที่ดำเนินการแบบซื้อมาขายไป ไม่มีการผลิต จะหักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้
2. สำหรับบ้านที่มีการผลิตภายในร้าน จะหักตามค่าใช้จ่ายจริง
3. หักแบบเหมา กรณีมีรายได้จากช่องทางออนไลน์เกิน 1,000,000 บาท โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้