Affiliate marketing หมายถึงอะไร?
Marketing affiliate คือ การตลาดแบบช่วยขาย ที่ช่วยเพิ่มรายได้ทั้งร้านค้าและคนช่วยแชร์สินค้า ซึ่งรูปแบบการตลาดจะเป็นแบบ mlm business คือ การตลาดที่มีการแนะนำสินค้าต่อนั่นเอง หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าการตลาดแบบปากต่อปาก
องค์ประกอบของ affiliate marketing
การตลาด Affiliate มีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ผู้ต้องการการโปรโมทสินค้า หรือ เจ้าของร้านค้า
สิ่งที่เจ้าของร้านค้าต้องมีสำหรับเป็นเงินทุนในการทำ Affiliate Marketing คือ ค่าแนะนำ (ค่าคอมมิชชัน) ให้กับผู้ที่ช่วยขาย ซึ่งอาจเป็นเจ้าของช่อง เจ้าของสื่อ หรือ Social Media ต่าง ๆ
2. ธุรกิจ Affiliate Provider
คนกลางที่เชื่อมระหว่างเจ้าของร้านค้า (ที่ต้องการการโปรโมทสินค้า) กับ เจ้าของสื่อ หรือ Influencer/KOLs ที่มีระบบการจัดการลิงก์โปรโมท รวมถึงช่วยจัดการการชำระเงินแทนเจ้าของร้านค้า
3. ผู้แชร์ที่เป็น Influencer/KOLs หรือ เจ้าของช่องทางต่าง ๆ
เจ้าของช่องทางต่าง ๆ จะเป็นตัวแทนการทำ Affiliate โดยทำการโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางที่ตัวเองมี และได้รับเงินค่าแนะนำ (ค่าคอมมิชชัน) โดยสิ่งที่ต้องลงทุนคือ เวลาในการสร้างสรรค์คอนเทนต์และความรู้เรื่อง Digital Marketing
4. ลูกค้าผู้ซื้อสินค้า
ลูกค้าเป็นคนที่มาซื้อสินค้าตามการโปรโมทของผู้แชร์หรือ Influencer ที่พวกเขาติดตาม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น
ประเภทการทำ Affiliate marketing
การทำ Affiliate มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
1. Pay Per Sale (PPS)
ผู้แชร์จะได้ค่าคอมมิชชันก็ต่อเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าเสร็จสิ้นสมบูรณ์ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากราคาสินค้า แต่เจ้าของร้านค้าบางคนก็จ่ายเป็นค่าคอมมิชชันแบบคงที่ คือ ไม่ว่าจะขายได้มากแค่ไหนก็ได้ค่าคอมมิชชันเท่าเดิมนั่นเอง
2. Pay Per Lead (PPL)
ผู้แชร์จะได้รายได้จากการชวนคนมาสมัครหรือลงทะเบียนผ่านลิงก์ เช่น บัตรเครดิต, ประกัน เป็นต้น
3. Pay Per Click (PPC)
ผู้แชร์จะได้รายได้จากจำนวนคนที่เข้ามาคลิกดู ไม่ว่าจะขายสินค้านั้นได้หรือไม่ก็ตาม
ความสำคัญของระบบ affiliate marketing
1. ระบบ affiliate คือ การทำการตลาดที่คุ้มค่า
หากคุณอยากทำการโปรโมทสินค้าในร้านตัวเองแต่ไม่อยากทุ่มเงินทำโฆษณาที่ใช้ต้นทุนสูง การทำ affiliate แปลว่า การตลาดแบบปากต่อปากกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ เนื่องจากลงทุนน้อยมากและได้ผลตอบรับที่แสนคุ้มค่ามาก ๆ
2. Affiliate Marketing ให้ ROI สูง
การตลาดแบบพันธมิตรนอกจากช่วยลดต้นทุนในระยะเริ่มต้นแล้วยังทำให้ ROI (กำไรเทียบกับค่าใช้จ่าย) สูงขึ้นด้วย และจากการสำรวจยังไม่พบร้านค้าหรือแบรนด์ไหนที่ได้รับผลกระทบแย่ ๆ จากการใช้การตลาดแบบนี้อีกด้วย
3. Affiliate Marketing ช่วยเพิ่มการเข้าถึงมากขึ้น
การเพิ่มขึ้นของการเข้าถึงแพลตฟอร์มต่าง ๆ นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 65% จากการใช้การโปรโมทผ่านผู้แชร์ และการเข้าถึงเพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลดีอย่างยิ่งกับร้านค้าของคุณ เนื่องจากนั่นหมายถึงว่าโอกาสที่จะทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
4. Affiliate Marketing ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ธุรกิจ
การบอกเล่าของความดีงามของสินค้าผ่านช่องทางของผู้แชร์นั้นช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของสินค้าได้มากกว่าการที่แบรนด์เป็นคนบอกเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเลือกผู้แชร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมาย นั่นยิ่งส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
5. Affiliate Marketing ช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์
หากคุณเป็นร้านค้าที่เพิ่งเริ่มต้นแน่นอนว่าการรับรู้แบรนด์ของคุณอาจยังน้อยและไม่เป็นที่รู้จัก แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการทำโปรโมชั่น การทำการตลาดแบบพันธมิตรกลับทำให้แบรนด์มีชื่อเสียงและไม่เสียคุณค่าแบรนด์อีกด้วย
ตัวอย่าง affiliate marketing Provider ที่น่าสนใจ
ปัจจุบันหลายธุรกิจหันมาใส่ใจและเลือกทำการตลาดแบบพันธมิตรกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นการตลาดแบบวิน-วิน ได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย อีกทั้งยังมีการพึ่งพา Affiliate Provider มากขึ้น สำหรับคนที่อยากมีรายได้แบบ Passive Income ก็ให้ความสนใจมากขึ้นเช่นเดียวกัน ตัวอย่าง Provider ที่น่าสนใจมีดังนี้
1. Involve Asia
Affiliate Providers ที่มีแบรนด์สินค้าให้เลือกโปรโมทเยอะมาก ไม่ว่าคุณจะเป็นสายไหนก็สามารถเลือกได้ทั้งหมด อีกทั้งยังมีแบรนด์ดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Central Online, King Power, Banana IT, Nike ที่สำคัญระบบการทำงานยังง่ายมาก ๆ ไม่ต้องไปแปลงลิงก์เอง เพราะเขามีระบบ Generator มาให้พร้อมทำงานได้เลยทันที
จุดเด่น
- มีบริษัทครอบคลุมทวีปเอเชีย
- มีแบรนด์สินค้าเข้าร่วมเยอะ
- ค่าคอมมิชชันค่อนข้างสูง
จุดด้อย
- ต้องรอเงินค่าคอมมิชชันค่อนข้างนาน
2. Ecomobi Affiliate Program
อีกหนึ่ง Affiliate Provider ที่มีชื่อเสียงและมีคนไทยเลือกทำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเขามีระบบการทำงานให้แบบง่ายมาก ๆ แค่วางลิงก์แล้วกด Generate ก็สามารถนำไปแนบกับคอนเทนต์แนะนำสินค้าได้ทันที อีกทั้งยังมาพร้อม Sale Page ที่ให้เราปรับแต่งได้อย่างสะดวกสบายด้วย
จุดเด่น
- มีระบบการทำงานที่ง่าย สะดวกสบาย
- มีทีมงานให้ความช่วยเหลือแนะนำตลอด
- มีทีมซัพพอร์ตเป็นคนไทย ติดต่อสื่อสารได้ง่าย
- มีแบรนด์ที่เข้าร่วมเยอะ ทำให้มีสินค้าหลากหลาย
จุดด้อย
- ค่าคอมมิชชันค่อนข้างน้อย
- ระบบการทำงานยังไม่เสถียร
3. Shopee Affiliate Program
ไม่ว่าคุณจะเป็น Influencer ที่มีชื่อเสียง หรือเจ้าของร้านค้าบน Shopee ก็สามารถสมัครเข้าร่วมเพื่อทำ Affiliate ได้ โดยสามารถเลือกสินค้าอะไรก็ได้ที่วางขายบน Shopee ไปโปรโมท โดยจะมี Dashboard แสดงยอดสั่งซื้อและค่าคอมมิชชันให้ดูด้วย สะดวกสุด ๆ ไปเลย
จุดเด่น
- มีแบรนด์สินค้าเข้าร่วมเยอะ
- คนส่วนใหญ่ใช้บริการ Shopee อยู่แล้วทำให้อัตราการซื้อสูง
- มีระบบแปลงลิงก์ให้ ทำงานง่าย
จุดด้อย
- ค่าคอมมิชชันค่อนข้างน้อย
- อาจต้องรอเงินเข้าบัญชีค่อนข้างนาน
4. Accesstrade
Affiliate Provider เจ้ายักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นที่หลายคนน่าจะคุ้นตากันดี เรียกได้ว่าเป็นรุ่นพี่ของหลาย ๆ เจ้า หากว่าใครสามารถครีเอทคอนเทนต์ได้น่าสนใจเท่าไร ค่าคอมมิชชันก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และที่ดีงามสุด ๆ คือถ้าเรามีปัญหาก็สามารถติดต่อทีมซัพพอร์ตได้ตลอดอีกด้วยนะ
จุดเด่น
- มีความน่าเชื่อถือสูง จ่ายจริงแน่นอน
- มีแบรนด์สินค้าหลากหลาย
- มีทีมซัพพอร์ตตลอดการทำงาน
จุดด้อย
- สำหรับคนที่มีผู้ติดตามไม่เยอะอาจจะได้ผลตอบแทนน้อย
5. Priceza
เว็บไซต์เปรียบเทียบราคาที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งนอกจากบริการเกี่ยวกับการเช็คราคาแล้ว เขายังเป็น Affiliate Provider ที่มีสินค้ามากมายให้เราเลือกโปรโมทอีกด้วย ซึ่งจะมีการคิดผลตอบแทนตามจำนวนคนคลิกเข้าไปดู ทำให้แม้จะไม่มีคนซื้อเราก็ยังได้ค่าตอบแทนอยู่นั่นเอง
จุดเด่น
- จ่ายผลตอบแทนตามจำนวนคลิก
- มีความน่าเชื่อถือสูง
- มีสินค้าให้โปรโมทเยอะและหลากหลาย
- มีโบนัสให้
จุดด้อย
- การแข่งขันสูง
6. PUNDAI
เครื่องมือการตลาดออนไลน์ที่ช่วยให้ทั้งร้านค้าและผู้แชร์สามารถได้รับผลประโยชน์แบบวิน-วินทั้งคู่ โดยความดีงามของปันได้คือเราไม่ต้องเข้าเว็บไซต์หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มเติมเลย เพียงแค่แอดไลน์ @pundaiofficial แล้วสมัครเพื่อทำ Affiliate จากนั้นทำการแชร์ดีลสินค้าของร้านค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ แล้วรับค่าคอมมิชชันตามเปอร์เซ็นต์ที่ร้านค้ากำหนดไว้ได้เลย
จุดเด่น
- ทำงานง่าย แค่แอดไลน์ก็เริ่มงานได้เลย
- มีสินค้าให้เลือกหลากหลายประเภท
- ค่าคอมมิชชันค่อนข้างสูง
- ไม่ต้องเสียเวลาแปลงลิงก์ด้วยตัวเอง
จุดด้อย
- การแข่งขันค่อนข้างสูง
สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจทำธุรกิจออนไลน์ ทาง PUNDAI ของเราพร้อมนำเสนอสาระดี ๆ ด้านการทำการตลาดออนไลน์ และให้ความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ที่สร้างความเชื่อมั่นและรายได้
หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วนะคะว่า Affiliate Marketing คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ หวังว่าเพื่อน ๆ จะลองนำวิธีการตลาดนี้ไปปรับใช้กับร้านค้าของตัวเองกันมากขึ้น รับรองเลยว่ายอดขายจะทะยานขึ้นจนน่าตกใจแน่นอนค่ะ หากชื่นชอบคอนเทนต์ด้านธุรกิจดี ๆ แบบย่อยง่ายก็อย่าลืมติดตามการอัปเดตจากเราเพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ นะคะ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
Affiliate marketing คืออะไร มีข้อดีอย่างไร
การตลาดแบบพันธมิตร ซึ่งการทำงานจะมีผู้แชร์มาช่วยแชร์สินค้าให้ เมื่อมีลูกค้ามาซื้อ ร้านค้าจะเป็นผู้จ่ายผลตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชันให้กับผู้แชร์ ซึ่งมีข้อดีหลายประการดังนี้
– ลดต้นทุนสำหรับการทำการโปรโมท
– รักษากำไรให้มีมากขึ้น
– ช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์
– ทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ดีขึ้น
– ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ